พลิกปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง ด้วยระบบการบำรุงรักษาเชิงรุก

เนื่องจากปัญหาเครื่องจักรขัดข้องจะส่งผลกระทบต่อผลิตภาพกระบวนการและอาจรุนแรงถึงต้องหยุดสายการผลิต รวมถึงการใช้เวลาแก้ไขปัญหานาน ส่งผลให้เกิดงานระหว่างผลิตในรูปสต็อกค้าง สภาพดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในสายการผลิต ทำให้งานบำรุงรักษาเป็นปัจจัยสนับสนุนความน่าเชื่อถือกระบวนการ โดยเฉพาะการดำเนินกิจกรรมบำรุงรักษาที่มุ่งป้องกันการเกิดปัญหาความขัดข้องของเครื่องจักรและการซ่อมแซมหากเกิดปัญหาขึ้นขณะใช้งาน

เป็นที่น่าเสียดายว่าฝ่ายงานบำรุงรักษามักมองข้ามความสำคัญกิจกรรมการขจัดความสูญเปล่าซึ่งเป็นหัวใจหลักของการเพิ่มผลิตภาพ ทำให้การมุ่งสู่ความเป็นเลิศในงานบำรุงรักษาต้องปรับกระบวนทัศน์ การบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) สู่การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) ซึ่งมีความหมายและแนวทางตรงข้ามกับการบำรุงรักษาเชิงรับที่ดำเนินการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเกิดปัญหาขัดข้อง

โดยที่การบำรุงรักษาเชิงรุกจะมุ่งแนวทางบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์เพื่อดำเนินการป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุขัดข้องหรือความชำรุดเสียหาย ซึ่งไม่เพียงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวันเท่านั้น แต่จะมีการวิเคราะห์หาสาเหตุหลักของปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อดำเนินการแก้ไขและป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิมขึ้นอีก ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบการผลิตแต่แนวทางดังกล่าวจะเกิดประสิทธิผลก็ต่อเมื่อองค์กรดำเนินตามแนวคิดลีนและกิจกรรมบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง มอบหมายให้สมาชิกทีมงานทุกคนมีส่วนร่วมระบุสาเหตุหลักแห่งความสูญเปล่า

ระบบบำรุงรักษาเชิงรุก

สำหรับความรับผิดชอบของวิศวกรบำรุงรักษาจะต้องมุ่งค้นหาและจำแนกสาเหตุหลักของปัญหาเพื่อระบุแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการและเครื่องมือหลัก โดยเฉพาะการวิเคราะห์หาสาเหตุหลักความชำรุดเสียหาย (Root Cause Failure Analysis) ดังนี้

  • วิเคราะห์สาเหตุหลัก
  • ประเภทปัญหาความบกพร่องในกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อการเดินเครื่องจักรและคุณภาพผลิตผล
  • โดยมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการควบคุมคุณภาพสู่การประกันคุณภาพด้วยการศึกษาองค์ประกอบหลักของเครื่องจักรที่ส่งผลต่อคุณภาพผลิตผลและขจัดต้นตอปัญหาดังกล่าว
  • โดยมีการติดตามวัดผลตามรอบเวลาเพื่อใช้ข้อมูลระบุกิจกรรมไคเซ็นและจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็น

ประกอบด้วยรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาทิ

  • ตำแหน่งที่เกิดปัญหาความบกพร่อง
  • ความรุนแรงแต่ละประเภทปัญหา
  • ความถี่การตรวจพบปัญหาแต่ละช่วงการทดสอบ
  • แนวโน้มการเกิดปัญหาคุณภาพตามรอบเวลา

ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ โดยเฉพาะเงื่อนไขการทำงานแต่ละกระบวนการ อาทิ

  • แรงงาน
  • วิธีการทำงาน
  • วัสดุ และเครื่องจักร
  • การกำหนดมาตรฐานหรือเงื่อนไขการทำงานแต่ละกระบวนการ
  • ข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับสภาพการทำงานขณะที่เกิดปัญหาขึ้น

โดยองค์ประกอบหรือชิ้นส่วนหลักถูกระบุไว้ในระบบย่อย โดยจะใช้ข้อมูลประวัติการขัดข้องและการซ่อมแซมจากความชำรุดดังกล่าวที่อาจเป็นสาเหตุความชำรุดในระบบย่อย ซึ่งรูปแบบความชำรุดเสียหายแต่ละองค์ประกอบถูกระบุเพื่อประเมินวัดความเสี่ยงโดยลำดับตามค่าวิกฤตความชำรุดเสียหายจากการใช้งาน (Functional Failure) หากมีข้อเสนอจัดการความชำรุดเสียหายมากกว่าสองหัวข้อขึ้นไปซึ่งมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคถือว่าข้อเสนอเหล่านี้เกิดประสิทธิผลทางต้นทุนและควรได้รับคัดเลือกเพื่อดำเนินการ


สารสนเทศงานบำรุงรักษา

สำหรับประเด็นปัญหาเครื่องจักรขัดข้องจะเกิดการรอคอยชิ้นส่วนอะไหล่ ทำให้เกิดความสูญเสียเวลารอคอยและส่งผลกระทบต่อสายการผลิต ทำให้มีความจำเป็นในการบริหารจัดการคลังอะไหล่ โดยพิจารณาปัจจัยที่สามารถลดผลกระทบต่อการตอบสนองการให้บริการ อาทิ อายุเครื่องจักร อัตราการใช้อะไหล่ แหล่งจัดหาจัดซื้อ ระยะเวลาการส่งมอบและความพร้อมของอะไหล่ในตลาด

ส่วนห้องจัดเก็บอะไหล่ตามแนวคิดลีนควรมีสโตร์ย่อยเพื่อจัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ไว้หลายแห่งภายในโรงงานแทนแนวทางทั่วไปที่จัดเก็บเฉพาะในสโตร์กลาง โดยสโตร์ย่อยจะจัดเก็บเฉพาะอะไหล่ที่ถูกใช้ประจำไว้บริเวณจุดใช้งาน (Point-of-Use) เพื่อสะดวกต่อการหยิบหรือเบิกใช้งาน ตามแนวคิดสโตร์แบบลีน (Lean Store) จะดำเนินการจัดทำมาตรฐานชิ้นส่วนอะไหล่ทั่วไปที่มีการเบิกใช้บ่อย เพื่อประหยัดเวลาค้นหาและทำให้ลดเวลารอคอย

รวมถึงลดปริมาณการสต็อกสำรองอะไหล่ที่หลากหลายประเภท อาทิ ลูกปืน มอเตอร์ ปั๊ม ทำให้ต้นทุนการจัดหาจัดซื้อและการจัดเก็บรักษาลดลง สอดคล้องกับแนวคิดการผลิตแบบลีน โดยแผนงานระยะยาวอาจพัฒนาแนวทางบริหารจัดเก็บอะไหล่ร่วมกับระบบฐานข้อมูล CMMS สามารถแสดงรายการชิ้นส่วนด้วยใบแสดงรายการวัสดุ หรือ BOM สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศกับงานจัดซื้อเพื่อบริหารสต็อกอย่างมีประสิทธิผล


แนวโน้มผลลัพธ์ติดตามสภาพเครื่องจักร

ส่วนการวิเคราะห์แนวโน้มเครื่องจักรด้วยการตรวจติดตามสภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์(Predictive Maintenance) โดยนำผลลัพธ์การตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรมาวิเคราะห์เพื่อระบุข้อกำหนดทางปัจจัยเดินเครื่อง อาทิ อุณหภูมิ ความเร็วรอบ และรอบเวลาบำรุงรักษาที่เหมาะสม

โดยมีการนำเทคโนโลยีที่ใช้ติดตามระบบการผลิตและจัดเก็บข้อมูลสภาพเครื่องจักรขณะใช้งาน ที่มุ่งวิเคราะห์แนวทางป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุขัดข้องหรือความเสียหาย ด้วยการบูรณาการเทคนิคการจัดการและเทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์และระบุแนวทางแก้ปัญหา รวมถึงเชื่อมโยงกับระบบวางแผนบำรุงรักษา ทำให้ระบบการผลิตเกิดความน่าเชื่อถือและส่งผลให้เกิดต้นทุนการผลิตลดลง

แต่สิ่งสำคัญในการบริหารงานบำรุงรักษา คือ การสร้างสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายบำรุงรักษากับผลตอบแทนเพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนที่เกินความจำเป็น ดังนั้น การเพิ่มสมรรถนะเครื่องจักรและลดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาเป็นประเด็นหลักของระบบสารสนเทศ ซึ่งประสิทธิผลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อระบบสารสนเทศงานบำรุงรักษาสามารถยืดช่วงเวลาเฉลี่ยการเกิดความเสียหายหรือ MTBF และสามารถลดเวลาเฉลี่ยการซ่อมแซม (Mean Time To Repair) หรือ MTTR โดยทั้ง MTBF และ MTTR เป็นปัจจัยชี้วัดประสิทธิผลการสร้างความน่าเชื่อถือและความพร้อมระบบ (Availability)

EXECUTIVE SUMMARY

Proactive maintenance is a method that focus on preventive maintenance and predictive maintenance to take an action before the system failed or broke. Not only prevent routine problem, the method will analyze the major problem with systematic to take action and prevent the same problem to be occurred recently. This method created reliability for the manufacturing system but it will be effective when the organization applied lean and TPM continuously, and also assign every member to cooperation in the identification of waste’s activity

Material Science and Engineering

”…สาระความรู้เสริม เอามาฝากพี่น้องเราเก็บไว้ศึกษาใช้งานกันอีกครั้ง..!!

ว่าด้วยเรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยววัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรม (Material Science and Engineering)

วัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรม

ในปัจจุบันไม่ว่าวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ หรือนักเทคโนโลยีล้วนต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุ(materials) อยู่เสมอทั้งในเชิงของผู้ใช้วัสดุ ผู้ผลิตและผู้ควบคุมกระบวนการผลิต ตลอดจนผู้ออกแบบทั้งในรูปแบบ องค์ประกอบ และโครงสร้าง บุคคลเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมถูกต้องจากสมบัติของวัสดุเหล่านั้น นอกจากนี้ยังจะต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นมันเป็นเพราะเหตุใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก วัสดุใหม่ๆถูกผลิตขึ้น คุณสมบัติพิเศษๆก็ถูกค้นคว้าขึ้นมากมาย กระบวนการผลิตก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ราคาของวัสดุนั้นต่ำลง ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรจะได้รับรู้ไว้บ้าง

1.1 วัสดุและวิศวกรรม

วัสดุ คือ สสารที่ประกอบและทำขึ้นด้วยสารบางอย่างซึ่งเป็นสารเคมี ตั้งแต่อารยธรรมได้เริ่มขึ้น มนุษย์ได้รู้จักใช้วัสดุพร้อมกับพลังงานเพื่อช่วยทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ ของชีวิตดีขึ้นมาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าวัสดุทั้งหลายที่อยู่รอบๆตัวเราล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมา จากวัสดุทั้งสิ้น วัสดุที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป เช่น ไม้ คอนกรีต อิฐ เหล็กกล้า พลาสติก แก้ว ยาง อะลูมิเนียม ทองแดง และกระดาษ เป็นต้น ถ้าเราดูไปรอบตัวของเราจะเห็นวัสดุมีมากมายหลากหลายชนิด ทั้งนี้เพราะการวิจัยและพัฒนาได้ผลิตวัสดุใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตวัสดุให้ออกมาเป็นวัสดุสำเร็จรูป จัดว่าเป็นส่วนที่สำคัญในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน วิศวกรมีหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์และระบบของกระบวนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องผลิตต้องรู้ว่าประกอบด้วยวัสดุต่างๆอะไรบ้าง วิศวกรต้องมีความรู้ทั้งในเรื่องของโครงสร้างภายในและสมบัติของวัสดุ เพื่อที่จะได้สามารถเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสม และยังสามารถที่จะพัฒนากระบวนการผลิตหรือวิธีทำให้ดีที่สุดได้

งานของวิศวกรทางด้านการวิจัยและพัฒนาจะช่วยสร้างวัสดุใหม่ๆขึ้นมา หรือปรับปรุงสมบัติของวัสดุเดิมให้ดียิ่งขึ้น วิศวกรผู้ออกแบบจะเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือใช้วัสดุชนิดใหม่ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่และสร้างระบบใหม่ บางครั้งในทางตรงกันข้าม วิศวกรผู้ออกแบบเกิดปัญหาในการออกแบบที่จำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดใหม่ที่คิด ค้นจากนักวิจัยและวิศวกร ตัวอย่างเช่น การออกแบบเครื่องบินขนส่งที่มีความเร็วสูงกว่ากว่าเสียง คือ X-30 วิศวกรผู้ออกแบบจะต้องพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ให้สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 1800C(3250F) ได้โดยที่ขณะบินด้วยความเร็วสูง 12 ถึง 15 เท่าของความเร็วเสียง(12-25Mach) วัสดุที่ได้มีการศึกษาเพื่อใช้กับ X-30 ชนิดหลังสุด(1993)มีหลายชนิด เช่น เส้นใยซิลิกอนคาร์ไบด์เสริมแรงเข้ากับโลหะผสมของไทเทเนียม ชื่อ Timetal 215 เพื่อใช้ทำโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักและหล่อลื่น วัสดุผสมของคาร์บอน-คาร์บอนใช้ทำอุปกรณ์ของระบบป้องกันความร้อน วัสดุผสมของเส้นใยคาร์บอนกับอีพอกซีใช้ทำถังใส่เชื้อเพลิง

งานที่ท้าทายวิศวกรอีกประเภทหนึ่งคือ การสร้างสถานีอวกาศถาวร เพื่อให้มนุษย์ขึ้นไปอยู่ปฏิบัติงานในอวกาศได้ มีโครงการอันหนึ่งที่เสนอการประกอบโครงสร้างหลักของสถานีอวกาศ โดยทำเป็นคานรูปตัวไอ(I) ที่ขณะโคจรอยู่รอบโลก และเครื่องรับส่งสัญญาณทำด้วยวัสดุผสมพวกพอลิอีเทอร์อิไมด์ และพอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโทน
การค้นคว้าหาวัสดุชนิดใหม่ๆยังคงดำเนินต่อไป เช่น วิศวกรเครื่องกลพยายามค้นหาวัสดุที่ทนอุณหภูมิสูงมากขึ้นเพื่อนำไปสร้าง เครื่องยนต์ไอพ่นที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น วิศวกรไฟฟ้าก็ค้นหาวัสดุชนิดใหม่ๆเพื่อสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถ ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และใช้ที่อุณหภูมิสูงได้ วิศวกรการบินก็ค้นหาวัสดุที่มีความแข็งแรงมากขึ้นแต่น้ำหนักเบา เพื่อใช้สร้างเครื่องบินและยานอวกาศ วิศวกรเคมีต้องการวัสดุที่ทนทานต่อการผุกร่อนได้ดี จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดู 2-3 ตัวอย่างว่าวิศวกรสาขาต่างๆ ล้วนต้องการค้นหาวัสดุใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อการประยุกต์ต่อไป มีหลายกรณีที่ในอดีตทำไม่ได้ แต่ในปัจจุบันสามารถทำได้แล้ว

1.2 วัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรม

วัสดุศาสตร์(Materials Science) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการค้นคว้าหาความรู้ขั้นพื้นฐาน(basic knowledge) เกี่ยวกับลักษณะของโครงสร้างภายใน สมบัติต่างๆ และกระบวนการผลิตวัสดุเหล่านั้น

วัสดุวิศวกรรม(Materials Engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นด้านหลักของการใช้หลักการพื้นฐานและการ ประยุกต์ความรู้ของวัสดุ เพื่อปรับปรุงสมบัติแล้วนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้ หรือให้เป็นไปตามความต้องการของสังคม

ดังนั้นชื่อของวิชา materials science and engineering นี้จึงได้มาจากการรวมกันของทั้ง materials science และ materials engineering วัสดุศาสตร์เป็นความรู้พื้นฐานทั้งหมดของวัสดุ และวัสดุวิศวกรรมเป็นการประยุกต์ความรู้ทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ดั้งนั้นวิชา ทั้งสองนี้จึงไม่มีเส้นแบ่งขอบเขตอย่างชัดเจน

1.3 ประเภทของวัสดุ

เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและสะดวกขึ้น วัสดุวิศวกรรมส่วนมากจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน คือ ประเภทโลหะ พอลิเมอร์(พลาสติก) และเซรามิก ในบทนี้จะได้กล่าวถึงความแตกต่างของวัสดุทั้งสามตามสมบัติที่สำคัญ ของมันคือ สมบัติเชิงกล สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติทางกายภาพ และต่อไปจะได้กล่าวถึงความแตกต่างของโครงสร้างภายในของวัสดุประเภทต่างๆเหล่านี้ และอาจจะเพิ่มเติมอีก 2 ประเภทคือ วัสดุผสม และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย เพราะเป็นวัสดุที่มีความสำคัญมากทางวิศวกรรม

1.4 การแข่งขันกันระหว่างวัสดุประเภทต่างๆ

การแข่งขันกันของวัสดุประเภทต่างๆ เพื่อให้ความต้องการใช้ยังคงอยู่ และเพื่อเปิดตลาดใหม่ขึ้นนั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีแนวโน้มสูงมาก มีปัจจัยหลายๆอย่างเกิดขึ้น เพื่อจะนำวัสดุอย่างหนึ่งไปใช้แทนวัสดุเดิมให้เป็นไปตามลักษณะของงานอันแท้จริง ปัจจัยแรกที่สำคัญคือค่าใช้จ่าย ถ้ามีการค้นพบกระบวนการผลิตวัสดุอย่างหนึ่งได้ในราคาที่ถูกลง ผลที่ตามมาก็คือวัสดุชนิดนี้อาจนำไปใช้แทนวัสดุเดิมในบางกรณีได้ อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนไปใช้วัสดุอื่นแทนก็คือ มีการพัฒนาวัสดุชนิดใหม่ขึ้นซึ่งมีสมบัติพิเศษเหมาะที่จะนำไปใช้งานบางอย่างได้ดีกว่า จากเหตุผลดังกล่าวนี้ทำให้การใช้วัสดุมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

1.5 สมบัติและการเลือกใช้วัสดุ

การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานนั้นจำเป็นจะต้องศึกษา หรือพิจารณาจากสมบัติของวัสดุนั้นให้มันตรงกับงานที่ออกแบบ หรือที่ต้องการทำจากวัสดุต่างๆซึ่งมีอยู่มากมาย และวิศกรสามารถส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์สมบัติองค์ประกอบได้จากศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ทดสอบ ซึ่งมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน เพื่อประหยัดเวลาและการลงทุน

1.6 แนวโน้มการใช้วัสดุในอนาคต

1.วัสดุประเภทโลหะ การผลิตโลหะที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เหล็กกล้า อะลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี และแมกนีเซียม ได้รับการคาดหมายว่าจะต้องเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างมาก แม้ว่าโลหะที่ผลิตอยู่ในปัจจุบันจะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในเชิงของทางเคมี การควบคุมองค์ประกอบและเทคนิดของกระบวนการผลิตก็ตามโลหะผสมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อใช้ในโครงการอวกาศ เช่น โลหะผสมนิกเกิลที่ทนทานต่ออุณหภูมิสูงกำลังได้รับการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อ เนื่อง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงเมื่อใช้อุณหภูมิสูงและทนทานต่อการกัดกร่อนยิ่งขึ้น โลหะผสมเหล่านี้ได้นำไปใช้สร้างเครื่องยนต์ไอพ่นที่มีประสิทธิภภาพสูงขึ้น และสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิสูงขึ้นไปอีก กระบวนการผลิตที่ใช้เทคนิคใหม่ เช่น ใช้ hot isostatic pressing และ isothermal forging สามารถช่วยยืดอายุของการเกิดความล้าของโลหะผสมที่ใช้กับเครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคการถลุงโลหะด้วยโลหะผง ทำให้สมบัติโลหะผสมมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น และทำให้ราคาของการผลิตลดลงอีกด้วย เทคนิคการทำให้โลหะแข็งตัวอย่างรวดเร็วโดยทำให้โลหะที่หลอมเหลวลดอุณหภูมิลง ประมาณ 1 ล้านองศาเซลเซียสต่อวินาทีกลายเป็นโลหะผสมที่เป็นผง จากผงโลหะผสมเปลี่ยนให้เป็นแท่งด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น hot isostatic pressing เป็นต้น ด้วยวิธีการเหล่านี้ทำให้สามารถผลิตโลหะที่ทนทานต่ออุณหภูมิสูงชนิดใหม่ได้ หลายชนิด เช่น nickel-based supperalloys, aluminium alloys และ titanium alloys

2.วัสดุประเภทพอลิเมอร์(พลาสติก)จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาวัสดุพอลิเมอร์ (พลาสติก) มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้น 9% ต่อปี โดยน้ำหนัก แม้ว่าอัตราการเติบโตของพลาสติกจากปี 1995 ได้มีการคาดหมายว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะลดลงต่ำกว่า 5% การลดลงนี้ก็เพราะว่าพลาสติกได้ถูกนำมาใช้แทนโลหะ แก้วและกระดาษเป็นผลิตภัณฑ์หลักในตลาดแล้ว เช่น ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ และใช้ในการก่อสร้างซึ่งพลาสติกเหมาะสมกว่า
พลาสติกที่ใช้งานทางวิศวกรรม เช่น ไนลอน ได้รับความคาดหมายว่าน่าจะเป็นคู่แข่งกับโลหะได้อย่างน้อยจนถึง ค.ศ.2000 แนวโน้มที่สำคัญในการพัฒนาพลาสติกวิศวกรรม คือ การผสมผสานพลาสติกต่างชนิดกันเข้าด้วยกันให้เป็นพลาสติกผสมชนิดใหม่(synergistic plastic alloy) ตัวอย่างเช่น ในช่วงปี 1987 ถึง 1988 ได้มีการผลิตพลาสติกชนิดใหม่ๆพลาสติกผสมและสารประกอบตัวใหม่จากทั่วโลกประมาณ 100 ชนิด พลาสติกผสมชนิดใหม่มีประมาณ 10%

3.วัสดุประเภทเซรามิก ในอดีตการเจริญเติบโตของการใช้เซรามิกสมัยเก่า เช่น ดินเหนียว แก้วและหินในอเมริกาเท่ากับ 3.6%(1966-1980) อัตราการเจริญเติบโตของวัสดุเหล่านี้จากปี 1982 ถึง 1995 คาดว่าจะประมาณ 2%ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเซรามิกวิศวกรรมตระกูลใหม่ได้ผลิตขึ้น ซึ่งเป็นสารประกอบพวกไนไตรต์ คาร์ไบด์ และออกไซด์ ปรากฏว่าวัสดุเหล่านี้ได้นำไปประยุกต์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใช้กับอุณหภูมิสูงๆ และใช้กับเซรามิกอิเล็กทรอนิกส์วัสดุเซรามิกมีราคาถูกแต่การนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมักใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง วัสดุเซรามิกส่วนใหญ่จะแตกหักหรือชำรุดได้ง่ายจากการกระแทก เพราะมีความยืดหยุ่นน้อยหรือไม่มีเลย ถ้ามีการค้นพบเทคนิคใหม่ที่สามารถพัฒนาให้เซรามิกทนต่อแรงกระแทกสูงๆได้แล้ว วัสดุประเภทนี้สามารถนำมาประยุกต์ทางวิศวกรรมได้สูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงและในบริเวณสิ่งแวดล้อมที่มีการกัด กร่อนสูง

4.วัสดุผสมพลาสติกที่มีการเสริมแรงด้วยเส้นใย เป็นวัสดุผสมหลักที่ใช้กันในอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะใช้เส้นใยแก้วมากกว่าเส้นใยทั่วไป พอลิเอสเทอร์ที่ไม่อิ่มตัว เป็นตัวเรซิ่นที่สำคัญที่ใช้ทำพลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้วหลายชนิด การใช้วัสดุประเภทนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จาก 1407 ล้านปอนด์ (640 ล้านกิโลกรัม) ในปี 1991 เป็น 1467 ล้านปอนด์ (667 ล้านกิโลกรัม) ในปี 1992 ซึ่งเพิ่มมากขึ้นประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
วัสดุผสมขั้นสูงได้แก่ อีพอกซีเสริมแรงด้วยเส้นใยแก้ว(fiberglass-epoxcy) และแกรไฟต์-อีพอกซี นับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นตลอดเวลาในการใช้เป็นโครงสร้างหลักที่มี สมรรถนะสูง ได้มีการทำนายกันว่าในอนาคตวัสดุชนิดนี้จะมีการใช้เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยต่อปีประมาณ 7.5% เครื่องบินโดยสารที่ทันสมัยได้มีการใช้วัสดุชนิดนี้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เคื่องบิน 777 รุ่นใหม่ ซึ่งจะนำออกใช้ในปี 1995 ได้มีการใช้วัสดุผสมประมาณ 10% โดยน้ำหนัก

5.วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปี 1970 ได้มีการนำซิลิคอนและวัสดุกึ่งตัวนำอื่นๆในสถานะของแข็ง(solid-state) และไมโครอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และคาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆจนเลยปี 2000 ได้มีการคาดคะเนกันว่าการใช้แผงวงจรรวมที่ทำจากซิลิกอนชิพ(siliconchips) จะมีบทบาทอย่างมากต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์จะมีผลต่ออุตสาหกรรมที่ทันสมัยยังคงจะต้องทำต่อไป ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอนาคตวัสดุอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีบทบาทที่สำคัญมากๆต่อโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยการใช้หุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทำงาน
หลายปีที่ผ่านมาวงจรรวม(integrated circuits) ได้สร้างขึ้นด้วยการบรรจุทรานซิสเตอร์ลงในซิลิคอนชิพเดียวมีปริมาณมากขึ้นๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการลดขนาดของทรานซิสเตอร์ลง

การซ่อมบำรุงในงานอุตสาหกรรม

3 ZERO การบำรุงรักษาในงานอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพ

โรงงานอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบการ ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น สำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปรสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ หรือพลังลม แก๊ส ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความถึง เครื่องอุปกรณ์ ไฟลวีล ปุลเล่ สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กันและรวมถึงเครื่องมือกลด้วย โดยเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน สามารถจำแนกประเภทของเครื่องจักรออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. เครื่องต้นกำลัง เป็นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตหรือเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้สำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล นอกจากนั้น ก็ยังมีเครื่องต้นกำลังอื่นๆ เช่น หม้อไอน้ำ เครื่องยนต์ เป็นต้น
  2. เครื่องส่งกำลัง คือ อุปกรณ์ที่ใช้ส่งผ่านกำลังจากเครื่องต้นกำลังไปใช้งานอื่นต่อไป เช่น เพลา สายพาน โซ่ เฟือง ท่อลมอัดต่างๆ เป็นต้น
  3. เครื่องจักรทำการผลิต เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตต่างๆ ประกอบด้วยเครื่องจักรที่แยกทำงานเฉพาะในแต่ละเครื่อง เช่น เครื่องเจาะ เครื่องอัด เครื่องตัด เครื่องกลึง เครื่องไส เป็นต้น และเครื่องจักรที่ออกแบบพิเศษเป็นลักษณะสายการผลิตที่ทำงานต่อเนื่อง เช่น เครื่องรีดโลหะ เครื่องผลิตท่อน้ำ เครื่องผลิตขวดแก้ว เครื่องผลิตภาชนะพลาสติก เครื่องบรรจุอาหาร เป็นต้น เครื่องจักรเหล่านี้ ล้วนทำการผลิตต่างๆ จากวัตถุดิบหรือชิ้นงานให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์

เครื่องจักรส่วนใหญ่มักมีการใช้พลังงานในการขับเคลื่อน มีทั้งพลังงานความร้อน และพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติงานของพนักงานในฝ่ายการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นปัจจัยสำคัญ 1 ใน 4 อย่าง (4M ซึ่งประกอบด้วย คน เครื่องจักร วัตถุดิบ และวิธีการ) ของการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาดีตามความต้องการ

ดังนั้น สมรรถนะความพร้อมในการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร จึงมีความจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเครื่องมือบกพร่องหรือใช้ไม่ได้ นั่นก็คือ องค์ประกอบในการทำงานไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบ ผลผลิตก็จะไม่สามารถผลิตออกมาได้หรือได้ก็ไม่ดี นอกเหนือจากนั้นโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานของระบบการผลิตขาดประสิทธิภาพ ทำให้ต้องพบกับความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอย่างสม่ำเสมอ เป็นผลทำให้เกิดการสูญเสียต้นทุนทางธุรกิจอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าไม่มีการแก้ไขจะส่งผลกระทบกับทางธุรกิจเป็นอย่างแน่แท้ อุตสาหกรรมการผลิตในอดีตได้เน้นการผลิตในเชิงปริมาณ นั้นคือ การผลิตที่ไม่คำนึงถึงคุณภาพของสินค้าที่ผลิตมาได้ ทำให้สินค้าที่ผลิตมานั้นไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเน้นการผลิตที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตที่ราคาถูกไม่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นการผลิตที่เน้นจำนวนการผลิตที่มากๆ และลดต้นทุนโดยการเลือกใช้วัสดุที่คุณภาพต่ำ สร้างผลตอบแทนทางด้านกำไรให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี

ฉะนั้น การสร้างระบบบริหารการบำรุงรักษา (Maintenance) ของโรงงานให้มีมาตรฐาน ประกอบกับการสร้างระบบการบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลในการลดความสูญเสียเกิดขึ้นและลดต้นทุนขององค์กรได้มากขึ้น กิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลทั่วทั้งองค์กร (Total Productive Maintenance) หรือ TPM จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาความสูญเสียที่เกิดขึ้น ตามสายงานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

TPM กับการบำรุงรักษารอบทิศองค์กร

ระบบ TPM แบบดั้งเดิมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร ถึงแม้ว่าจะมุ่งที่จะไปให้ถึงขีดจำกัดสูงสุดของประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยการปรับปรุงวิธีการสร้างเครื่องจักร การบำรุงรักษาเครื่องจักรก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มุ่งไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดของระบบการผลิตโดยก้าวไปถึงวิธีการใช้เครื่องจักรลักษณะพิเศษของระบบ TPM คือ ‘การบำรุงรักษาด้วยตนเองของพนักงาน’ นั่นหมายถึง เครื่องจักรของเราดูแลรักษาโดยตัวเราเอง

การควบคุมดูแลเครื่องจักรก็คือการควบคุมดูแลสุขภาพของเครื่องจักรการดูแลรักษาร่างกายของมนุษย์ด้วยวิชาการแพทย์เชิงป้องกัน ทำให้สามารถยืดอายุขัยของมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก การบำรุงรักษาเชิงป้องกันก็คือ วิชาการแพทย์เชิงป้องกันนั่นเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักการดูแลรักษาสุขภาพของเครื่องจักรนั่นเอง

นอกจากนั้น เพื่อที่เราจะสามารถรักษาสุขภาพให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ ก็ทำได้โดยการให้หมอที่มีความชำนาญทางด้านนี้โดยเฉพาะตรวจวินิจฉัยสุขภาพตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้สามารถตรวจให้พบสิ่งที่ผิดปกติได้โดยเร็วแล้ว จะได้ทำการรักษาได้โดยเร็ว ในทำนองเดียวกันพนักงานก็เช่นเดียวกัน เครื่องจักรที่เราใช้ เราก็ต้องดูแลรักษาด้วยตัวเราเอง อันนี้แหละที่เรียกว่าบำรุงรักษาด้วยตัวเอง

การที่เครื่องจักรเสียหรือมีของเสียเกิดขึ้นก็เพราะเครื่องป่วย เพื่อที่จะไม่ให้เครื่องจักรป่วยก็ต้องบำรุงรักษาเป็นประจำทุกวัน (ทำความสะอาด, หยอดน้ำมัน, ขันน็อต, ตรวจเช็ก) อย่างจริงจัง นอกจากนั้น ยังต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการตรวจเช็กตามเวลาที่กำหนด แล้วทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาสำหรับแนวคิดในเรื่องการควบคุมเครื่องจักรของญี่ปุ่นนั้น ได้ผ่านมาจากยุคของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันไปสู่การบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มผลผลิต แล้วก็ได้พัฒนาไปสู่ยุคของ TPM ในปัจจุบัน

TPM มีจุดประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการผลิตไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดแม้ว่าระบบการผลิตส่วนมากจะเป็นระบบ Man – Machine ซึ่งรวมถึงระบบอัตโนมัติที่กำลังพัฒนาควบคู่ไปกับระบบการผลิตด้วย แต่ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า วิธีการสร้างเครื่องจักร การใช้เครื่องจักร การบำรุงรักษาดูแลเครื่องจักรนั้นมีผลต่อของดีของเสียโดยตรงเลยทีเดียว แต่ว่า TPM นั้นมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตโดยรวมไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดโดย การปรับปรุง (Kaizen) วิธีการสร้างเครื่องจักรวิธีการใช้เครื่องจักร และวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยการขจัดความสูญเปล่า เนื่องจากการเปลี่ยนรุ่น หรือเครื่องจักรเสีย โดยการขจัดการสูญเสียความรวดเร็วอันเนื่องมาจาก การหยุดเล็กๆ น้อยๆ ความเร็วที่ลดลง โดยการขจัดของเสียจากกระบวนการ ขจัดเวลา Start Up ขจัดความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือการขจัดความสูญเสียอันเนื่องมาจากของเสียนั่นเอง

ฉะนั้น เป้าหมายที่สำคัญของ TPM ในการพัฒนาสายการผลิตเพื่อใช้ในการวัดระดับความสำเร็จในการทำกิจกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ

1. Zero Breakdown – เครื่องจักรขัดข้องต้องเป็นศูนย์

การที่เครื่องจักรในสายการผลิตต่างๆ จะไม่เกิดความขัดข้องเลยในสายการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเลย หรือหมายถึงเครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) การบำรุงรักษาทวีผลทั่วทั้งองค์กร TPM จึงเป็นเรื่องที่จะวางแผนสายการผลิตด้วยการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อมิให้เกิดความขัดข้องของเครื่องจักรนั้นเอง

ในการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรม แนวคิดเดิมการบำรุงรักษาอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการนำมาพิจารณาเป็นมาตรฐานในการซ่อมบำรุงของโรงงาน แนวคิดยังเห็นว่า การซ่อมแซมจะเกิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรเสียหรือขัดข้องเท่านั้น การเตรียมการบำรุงรักษาอาจเป็นเรื่องการเสียต้นทุน ซึ่งขณะนั้นผลผลิตของโรงงานหรืองบประมาณไม่ได้ถูกจัดสรรไว้สำหรับการบำรุงรักษาซ่อมแซม ผลกระทบที่ตามมา คือ เครื่องจักรหยุดการผลิตไม่สามารถผลิตได้ตามระยะเวลาที่กำหนด บางชิ้นส่วนของเครื่องจักรต้องมีการซ่อมแซม ไม่ได้วางแผนการจัดซื้อไว้ ต้องใช้ระยะเวลาในการซ่อมแซมนาน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตของโรงงานเป็นอย่างมาก

ในปัจจุบันการบำรุงรักษาตามแบบการบำรุงรักษาทวีผลทั่วทั้งองค์กร (TPM) เป็นรูปแบบการบำรุงรักษาที่ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและบำรุงที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรอุตสาหกรรมไม่ให้เกิดปัญหาความสูญเสียที่เกิดขึ้นตามสายงานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การใช้วิธีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ซึ่งเป็นการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพการเกิดเหตุขัดข้อง หรือการหยุดทำงานของเครื่องจักรโดยฉุกเฉิน

โดยอาศัยการตรวจสภาพเครื่องจักร การทำความสะอาดขันน็อตสกรูให้แน่น และหล่อลื่นอย่างถูกวิธี มีการปรับแต่งเครื่องจักรรวมถึงการบำรุงและเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยสามารถใช้เทคนิค การบำรุงรักษาตามระยะเวลา (Periodic Maintenance หรือ Time Based Maintenance: TBM) คือ การดำเนินการอยู่เป็นระยะๆ ผ่านการตรวจสอบ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อป้องกันความเสียหายอย่างฉับพลัน หรือเกิดปัญหาต่อกระบวนการผลิต หรือการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance) คือ การให้ความสำคัญและใส่ใจกับชิ้นส่วนที่สำคัญของเครื่องจักร เป็นการคาดการณ์ผ่านการตรวจสอบ หรือวินิจฉัย เพื่อที่จะให้ชิ้นส่วนนั้นๆ สามารถใช้งานได้ครบอายุการใช้งานจริงๆ กล่าวได้ว่าเป็นการบริหารจัดการแนวโน้มของคุณค่า (Trend Values) โดยอาศัยการตรวจวัดและการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพ

การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นการรักษาสมรรถนะของความสามารถในการผลิตสินค้าของเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างดี ไม่เกิดความชำรุดเสียหาย อันเป็นการสูญเสียทั้งเวลาในการผลิตเมื่อถึงครั้งเวลาเครื่องจักรเกิดการชำรุดบ่อยหรือเสียหายโดยไม่ได้ดูแลรักษา หรือเครื่องจักรและอุปกรณ์สามารถทำงานได้ดีไม่สึกหรอ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น เปรียบเทียบต้นทุนในการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์นั้นไม่คุ้มค่า เป็นภาระของโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องรับผิดชอบโดยไม่มีความจำเป็น

ฉะนั้น แนวทางป้องกันเครื่องจักรขัดข้องต้องเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญของ TPM ในการพัฒนาสายการผลิต โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีแผนการบำรุงรักษา พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาที่จะตรวจสอบพร้อมทั้งพนักงานที่รับผิดชอบในเครื่องจักรแต่ละตัว เพื่อที่จะสร้างมาตรฐานของการดูแลรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้สามารถพร้อมใช้งานได้ดีอยู่เสมอ

ตัวอย่าง การใช้ การบำรุงรักษา และการแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องทำความเย็น

เครื่องทำความเย็นที่ติดตั้งเสร็จหรือซ่อมเสร็จใหม่ๆ จะต้องทดลองเดินเครื่อง และปรับแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ก่อนการใช้งานปกติ ในระหว่างการใช้งานปกติประจำวันจะต้องตรวจการทำงานของเครื่องทำความเย็นในเรื่องต่อไปนี้

1) อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น หรือของอากาศหล่อเย็น
2) อุณหภูมิของส่วนต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศ เสื้อสูบ และกระบอกสูบของเครื่องอัด เครื่องควบแน่น ลูกปืน
3) เสียงจากการทำงาน และการสั่นสะเทือน
4) แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของเครื่องทำความเย็น หอทำน้ำเย็น ปั๊มน้ำ ฯ
5) ความดันและอุณหภูมิของน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องอัด
6) ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ไหลในวัฏจักรการทำความเย็น
7) องศาในการเปิดวาล์วขยายตัว
8) ความสะอาดของน้ำมันหล่อลื่

การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นจะเป็นไปด้วยดี ถ้าการระเหยและการควบแน่นของสารทำความเย็นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการแปรเปลี่ยนของตัวประกอบเหล่านี้จะช่วยให้สามารถทราบความผิดปกติต่างๆ ของระบบได้รวดเร็ว สามารถค้นหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

ตำแหน่งที่จะต้องคอยตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษาระหว่างการทำงานปกติของเครื่องทำความเย็น

ระบบทำความเย็นที่ติดตั้งใช้งาน หากมีการบำรุงรักษาที่ดีแล้วเป้าหมายของ TPM ในเรื่องป้องกันเครื่องจักรขัดข้องต้องเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ทำให้สายการผลิตของโรงงานดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถประหยัดพลังงานได้ดีด้วย

EXECUTIVE SUMMARY

One of the Total Productive Maintenance Goals for production line development is the Zero Breakdown.

If installed air-conditioning system can be well maintenance, the goal of TPM for Zero Breakdown will definitely be achieved, which shall allow efficient operation for the production line of the factory, and save energy very well. In addition, new installed cooling system or recent repaired one should undergo the running test, and fix all defects before the prior normal operation, while during the daily normal operation of the cooler, some operating checks must be carried on as follows

  1. Temperature of coolant or cooling air.
  2. Temperature of cooler’s components, cylinder block, and cylinder of compressor, condenser and bearing.
  3. Sound of operation and vibration.
  4. Electrical pressure, and electrical current of cooler, cool water making tower, water pump, etc.
  5. Pressure and temperature of lubricant in compressor.
  6. Pressure and temperature of refrigerant flowing in cooling making cycle.
  7. Designated temperature for opening expansion valve.
  8. Cleanliness of lubricant.

ยกระดับขั้นสูงสุด! รับมือ ‘ปาบึก’ ทร.ส่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นฐานบัญชาการลอยน้ำ

ผบ.ทร. สั่งยกระดับการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุด มอบหมายให้ ‘เรือหลวงจักรีนฤเบศร’ เป็นเรือบัญชาการลอยน้ำ รับมือพายุปาบึก พร้อมออกเรือได้ภายใน 24 ชม.

วันที่ 3 ม.ค. 62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลเรือเอกลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการ ทหารเรือ (ผบ.ทร.) ได้สั่งการเร่งด่วนให้ยกระดับการเตรียมพร้อมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุด โดยมอบหมายให้ เรือหลวงจักรีนฤเบศร หมายเลข 911 ซึ่งเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดใหญ่ ที่จอดเทียบ ณ การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นหมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณะภัยทางทะเล กองทัพเรือ พร้อมออกเดินทางภายใน 24 ชม. ภายในวันที่ 4 ม.ค. เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือประชาชน กรณีหากเกิดภัยพิบัติจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ในพื้นที่ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช

บริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับ ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ กลไก ในเรือเดินสมุทร และโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมแซม เครื่องจักร เครื่องยนต์ ตรวจเช็คระบบ ภายในเรือเดินสมุทรทุกชนิด

สำหรับภารกิจให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยของ หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล เป็นการเตรียมการขั้นสูงสุด มีกำลังพล และยุทโธปกรณ์ จากหน่วยขึ้นตรงของกองทัพเรือ ประกอบด้วย เฮลิคอปเตอร์ ปฏิบัติการกองทัพเรือ 4 ลำ ,ชุดปฏิบัติการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ (Maritime Aquatic Life Support Team: MAL) ,ชุดสำรวจสำรวจและประเมินความเสียหาย ทร. (Naval Disaster Assessment Team:NDAT) ,ชุดค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนบก และชุดปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์ ซึ่งเรือจะใช้เวลาในการเดินทางถึงที่หมายประมาณ 15 ชม.

บริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับ ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ กลไก ในเรือเดินสมุทร และโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมแซม เครื่องจักร เครื่องยนต์ ตรวจเช็คระบบ ภายในเรือเดินสมุทรทุกชนิด

Different Ways to Monitor Bearing Condition and Reduce Bearing Breakdown in Modern Marine Engines On Ships

The bearings of modern marine engines come with high load carrying capacity and good alloys combination (Sn, Al, Pb etc.), which provide excellent embedding and sliding properties. The ship engineers should know the operating hours of various bearings inside the engine and also plan checks and overhauling procedures accordingly.

It has often been seen that the bearing failure or breakdown occurred well ahead of the running hours. The cost of bearings vary depending upon it’s position. If any major damage or breakdown occurs, the total costing involved increases, as the journal pin of the shaft or of the crank web has high chances of getting damaged. In case of severe bearing damages, the engine bedplate can also get damage. Needless to say, any major repair on the main engine crankshaft or bedplate may cost thousands of dollars.

To avoid such breakdown and minimise costs, various monitoring system can be fitted along with following best practices, to ensure that the bearings complete their running hours without giving any trouble.

Advantage of having a Monitoring System for Marine Engine Bearings:

  • Alarms the ship engineer well ahead of steel to steel contact situation (maximum damage occurs at this level)
  • Easy to install and can be done on retrofit system
  • Inexpensive to install and maintain
  • It senses and provides continuous condition based data for easy monitoring
  • Decreases the schedule open up inspection and hence man hours
  • Removes the possibility of contamination of Internal parts and sump oil when opened up for inspection
  • The engine maker will cut down the manual monitoring (deflection, clearance measurements, etc.) if such systems are applied and approved by them

The bearings of a marine engine can be said is wearing down when:

  • The lining (Babbitt or Tin-Aluminium) is worn away by lining scuffing
  • Wiping of linings due to excessive loading
  • Abrasive wear due to contamination of lube oil
  • Melting out or extensive fatigue of the lining (Babbitt) due to lack in supply of oil or high temperature of the bearing
  • When steel to steel contact occurs

Following are the different ways to safeguard and monitor the main engine bearings:

Manual monitoring methods:

Electronic monitoring methods:

  • Bearing Wear Monitoring (BWM)
  • Bearing Temperature Monitoring (BTM)
  • Water in Oil Monitoring (WIOM)
  • Propeller Shaft Earthing Device

The main aim of the BWM, BTM and WIOM systems is to prevent major bearing damage well ahead of time. This system, however cannot protect the bearing shells but mainly avoid consequential damage of the crankshaft and bedplate in case of severe bearing failures.

The Propeller Shaft Earthing Device however is designed and installed to protect the bearing from spark erosion.

Crankcase inspection:

Crankcase inspection is modelled plan for engineers on ship under the Planned Maintenance System (PMS) to inspection the main engine crankcase space and bearings set up for any abnormality.

Crankshaft Deflection:

The Crankshaft deflection is a procedure to measure the misalignment of the shaft at various levels when compared to the original/last reading of the measured deflection. Normally, this procedure is performed with crankcase inspection. The recorded readings are then interpreted in a graph and compared to the original graph to point out the worn- out or defective bearings which are causing crankshaft misalignment.


Bearing Wear Monitoring :

The principle of the Bearing Wear Monitoring (BWM) system is to measure the vertical position of the crosshead in bottom dead centre (BDC).

The general BWM system monitors all three principle crank train bearings using two proximity sensors forward and aft per cylinder unit, placed inside the frame box. The sensor continuously monitors the guide shoe bottom ends and measures the distance to the crosshead in BDC.


These sensors send the continuously monitored data to an alarm system in the ship’s computer monitoring system. Hence, when there is a notable wear in the main, crankpin or in crosshead bearing, this monitored vertical position will shift and the same will be reflected in the monitoring system of the ship. If this shift reaches the set alarm values for one or more unit, the engineer will be alerted about the situation. This monitoring system is connected to the safety system of the engine which might slow down the engine when the Bearing wear alarms occurs.

Bearing Temperature Monitoring :

The rise in temperature can be considered as an important sign of an abnormality in the engine bearings. If the temperature of the bearing can be monitored and taken into account before it rises to dangerous level, major breakdown of engine crankshaft and bearing arrangement can be prevented. The measurement of bearing temperature can be done by two ways:

Direct Measurement: Using temperature sensors normally fitted at the rear side of the bearing shell

Indirect Measurement: Detecting the temperature of return oil from each bearing in the crankcase

Monitoring Return oil temperature

Temperature monitoring system continuously monitors the temperature of the bearings. In case a specified temperature is recorded, either a bearing shell temperature or bearing oil outlet temperature, an alarm is raised. For shell temperature in main, crankpin and crosshead bearings two high-temperature alarm levels apply.

The first level alarm is indicated in the alarm panel while the second level activates a slow down command. For oil outlet temperature in main, crankpin and crosshead bearings two high temperature alarm levels including deviation alarm apply. The first level of the high temperature/deviation alarm is indicated in the alarm panel while the second level activates a slow down command.

Water in Oil Monitoring :

The Water content in the lubricating oil is a crucial factor for maintaining good bearing condition in the main engine. A significant increase in the water content (typically max. 0.2 vol.%; for a short period up to 0.5 vol.%) can extremely damage engine bearings. The increase in water content will have the following effects in different bearings:

  • Excessive water content will cause the lead overlay, which acts as a running layer, in crosshead bearings (Tin-Aluminium lined) to corrode away
  • Main and crankpin bearings lined with Babbitt or Tin- Aluminium may also suffer irreparable damage from water contamination

These damages can be prevented if the lubricating oil of the engine can be continuously monitored for water contamination.

Two methods can be used for monitoring water contamination:

Manual: By checking the water contamination bi weekly using water in oil test kit provided by the marine engine makers. The major disadvantage of this method is the time gap and discontinuity in the monitoring of water content.

Automatic: By installing a Water In Oil Monitoring System in the engine lube oil system, which will continuously measure the relative humidity in the system oil. A probe in the oil piping system is installed which transmits the signal to a unit intended to calculate the humidity as Water Activity. The major advantage of such system is the continuity in monitoring the water content in oil for early troubleshooting and addition to that, this system is being independent of oil type, temperature or age. The system is connected to the alarm system which will activate an alarm if the water content reaches the set value.

Propeller Shaft Earthing Device

In a vessel, different metals are used to build propeller, hull, bedplate, crankshaft, bearing etc. The current from the cathodic protection system is generally present in these parts, which eventually creates the perfect situation for spark erosion. When two current carrying dissimilar metals are in contact, a sparks travels at the point of contact, which erodes the small metal by making a cavity.

To suppress the effect of galvanic corrosion, especially at the stern part of the ship where the propeller is present, an Impressed Current Cathodic Protection system is used. The propeller shafting is earthed to achieve continuous circuit and to avoid malfunction of the same.

This circuit usually exists when the propeller is at a rest, where a metal to metal contact is made between the shaft and the stern tube liners, or main engine bearings and journals.

However, whilst the shaft is turning the bearing oil film creates an intermittent high resistance which effectively insulates the propeller from the hull structure.

Disclaimer: The authors’ views expressed in this article do not necessarily reflect the views of Marine Insight. Data and charts, if used, in the article have been sourced from available information and have not been authenticated by any statutory authority. The author and Marine Insight do not claim it to be accurate nor accept any responsibility for the same. The views constitute only the opinions and do not constitute any guidelines or recommendation on any course of action to be followed by the reader.

The article or images cannot be reproduced, copied, shared or used in any form without the permission of the author and Marine Insight. 

“ซีพี” ยึดตะวันออกเบ็ดเสร็จ ชิงท่าเรือแหลมฉบัง 8 หมื่นล้าน สัมปทาน 35 ปี

ทุนไทย-เทศ 19 รายแห่ซื้อซองประมูลท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 วงเงิน 8.5 หมื่นล้าน ญี่ปุ่นปะทะจีน “ซี.พี.-อิตาเลียนไทย-ยูนิค” โผล่แจม กองทัพเรือเปิดขายซองอู่ตะเภา 2.9 แสนล้าน ดึงเอกชนร่วมทุน 50 ปี เนรมิตเมืองการบิน 6,500 ไร่ จับตากลุ่มทุนไฮสปีดชิงเค้ก ต่อยอดโครงการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดยื่นซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา 224,544 ล้านบาท 12 พ.ย.ที่ผ่านมา มี 2 กลุ่มยื่นซอง คือ 1.กิจการร่วมค้า BSR (บีทีเอส-ซิโน-ไทย-ราชบุรีโฮลดิ้ง) และ 2.กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ซี.พี.), บมจ.อิตาเลียนไทยฯ, บจ.ไชน่า เรลเวย์ฯ, บมจ.ช.การช่าง, และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)

ล่าสุดการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดขายทีโออาร์ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 ระยะที่ 1 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท วันที่ 5-19 พ.ย. 2561 โดยร้อยตำรวจตรีมนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังและรักษาการแทนผู้อำนวยการท่าเรือฯ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลการซื้อซองถึงวันที่ 16 พ.ย.มีเอกชนสนใจ 19 ราย เป็นบริษัทจากประเทศไทยมากกว่าต่างชาติ แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้

“มีหลากหลายกลุ่มธุรกิจที่สนใจ จะเปิดยื่นข้อเสนอ 14 ม.ค. 2562 มี 5 ซอง เป็นการลงทุนแบบ PPP Net Cost การท่าเรือจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ 53,490 ล้านบาท เอกชนจะลงทุน 30,871 ล้านบาท พัฒนาท่าเรือและรับสัมปทานบริหาร 35 ปี คาดว่าจะเซ็นสัญญาในเดือน ก.พ. 2562 เสร็จปี 2566 “

รายงานข่าวเปิดเผยว่า เอกชนซื้อทีโออาร์ 19 บริษัท อาทิ ประเทศญี่ปุ่นมี บจ.อิโตชู คอร์ปอเรชั่น, บจ.มิตซุย คอร์ปอเรชั่นและ บจ.ฟูชิตะ คอร์ปอเรชั่น ประเทศจีนมี บจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง, ประเทศไทย เช่น บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง (ซี.พี.), บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บจ.แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินัล, กลุ่มท่าทิพย์ เป็นต้น โดยรวมเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้า คาดว่าจะมี 3 กลุ่มที่ยื่นซอง

ขณะที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก พื้นที่ 6,500 ไร่ วงเงิน 290,000 ล้านบาท กองทัพเรือเปิดขายทีโออาร์ ถึง29 พ.ย.นี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ เนื่องจากเป็นการลงทุนใหญ่ถึง 6 กิจกรรม ได้แก่

1.อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ชั้นใต้ดินเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง 2.ศูนย์ธุรกิจการค้า การขนส่งภาคพื้น 3.ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ระยะที่ 2 4.เขตพื้นที่การค้าเสรี (คาร์โก้) 5.ศูนย์ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์

และ 6.ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศ โดยกองทัพเรือจะลงทุนก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 และทางขับให้ 17,768 ล้านบาท เอกชนลงทุนส่วนที่เหลือ 272,232 ล้านบาท ได้รับสัมปทาน 50 ปี รัฐจะได้ผลตอบแทนสุทธิไม่ต่ำกว่า 42,725 ล้านบาท

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า โครงการนี้เป็นส่วนเกี่ยวพันกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าจะมีกลุ่มที่ยื่นประมูลรถไฟความเร็วสูงเข้าร่วมด้วย แต่อาจจะต้องร่วมกับผู้ประกอบการรายอื่นด้วย เช่น รับเหมาก่อสร้าง การบิน ดิวตี้ฟรี รีเทล อสังหาฯ โรงแรม อาคารสำนักงาน ซึ่งในทีโออาร์กำหนดนอกจากจะมีประสบการณ์ก่อสร้างและบริหารสนามบินแล้ว ยังต้องมีประสบการณ์ด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์หรือนิคมอุตสาหกรรม

โดยคาดว่าคิง เพาเวอร์และกลุ่มเซ็นทรัลที่ชนะประมูลพื้นที่ดิวตี้ฟรีและร้านค้าภายในอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา น่าจะสนใจเข้าร่วมด้วย

ด้านนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และแหล่งข่าวจาก บมจ.อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า สนใจจะซื้อทีโออาร์สนามบินอู่ตะเภา


18 รายชิงท่าเรือซื้อซองประมูล ‘มาบตาพุด’ เฟส 3

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 เป็นหนึ่งใน 5 โครงการหลักของรัฐบาลในการเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่จะเริ่มมีการพัฒนาก่อสร้างในปี 2563 โดยโครงการดังกล่าว กนอ.ได้เริ่มเปิดขายเอกสารการ คัดเลือก Request for Proposal (RFP) ตั้งแต่วันที่ 9-21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งการเปิดขายซองทีโออาร์ เป็นตามแผนที่กำหนดไว้

โดยมีผู้สนใจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ที่สนใจมาซื้อซอง รวมทั้งสิ้น 18 ราย  ประกอบด้วย 
1. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  
2. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 
4. บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
6. บริษัท China Harbour Engineering Co.,Ltd. 
7. บริษัท Tokyo Gas Co.,Ltd. 8. บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด 
9. บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด  
10. บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
11. บริษัท Mitsui & Co., Ltd. 
12. บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จำกัด  
13. บริษัท China Railway Construction Corporation Limite 
14. บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 
15. บริษัท Boskalis International B.V.  
16. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 
17. บริษัท Vopak LNG Holding B.V.  
18. บริษัท สหการวิศวกร จำกัด

ทั้งนี้ในวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายนนี้ กนอ.จะมีการจัดประชุมชี้แจงให้กับผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 บริษัท เพื่อทำความเข้าใจในข้อกำหนด เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ พร้อมตอบข้อซักถามรายละเอียดต่างๆ ณ สำนักงานใหญ่ การนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) และในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 จะนำคณะภาคเอกชนดูพื้นที่โครงการท่าเรือฯมาบตาพุดระยะ 3 ที่จังหวัดระยอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเขียนข้อเสนอทางเทคนิค ภายใต้ทีโออาร์ที่กำหนดไว้

นางสาวสมจิณณ์กล่าวว่า กนอ.ได้กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 และ คาดว่าการพิจารณาคัดเลือกเอกชนดำเนินการพัฒนาโครงการท่าเรือฯมาบตาพุด ระยะ 3 จะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

สำหรับแผนการพัฒนาท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะ 3 คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2567โดยใน 3 ปีแรก จะเริ่มงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่ งานถมทะเล งานขุดลอกร่องน้ำเดินเรือ งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น เป็นต้น และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และส่วนที่เหลือจะเป็นการก่อสร้างส่วนท่าเทียบเรือบนพื้นที่ถมทะเล (Superstructure) โดยการพัฒนาท่าเทียบเรือ วัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า ได้แก่ การก่อสร้างท่าเทียบ เรือสินค้าเหลว ท่าเทียบเรือก๊าซ ท่าเทียบเรือบริการ และคลังสินค้า เป็นต้น หากก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าเหลวได้ประมาณ 15 ล้านตันต่อปี ในอีก 30 ปีข้างหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดประมูลในส่วนของ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3  พบว่ามีเอกชนสนใจเข้าซื้อซองรวม 32 ราย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม และฮอลแลนด์ เป็นต้น ในส่วนโครงการนี้คาดว่าลงนามสัญญาโครงการ ในช่วงกลางปีหน้า

เรือรบฝรั่งเศสช่วยลูกเรือบรรทุกยางมะตอย Durban Queen

เรือรบฝรั่งเศสช่วยลูกเรือบรรทุกยางมะตอย Durban Queen ที่กำลังจมในอ่าวเปอร์เซีย 

                เรือรบฟริเกตของกองทัพเรือฝรั่งเศสชื่อ Cassard-Class ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลัง Task Force 55 ได้ถูกส่งออกไปช่วยเรือสินค้า Durban Queen หลังจากที่เรือรบ USS Kanawha สามารถดักจับสัญญาณฉุกเฉิน (distress signal) จากเรือซึ่งอยู่ใกล้กับเรือสินค้า Durban Queen ที่กำลังจะจม 

เรือรบฝรั่งเศสส่งเฮลิคอปเตอร์ซึ่งได้ทำการขนย้ายลูกเรือชาวอินเดียทั้งหมด 12 คนจากบนเก๋งเรือก่อนที่เรือจะล่มและจมน้ำทั้งลำ ลูกเรือบางคนได้รับบาดเจ็บ ไปยังเรือสินค้าลำอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ก่อนที่จะนำพวกเขาทั้งหมดไปขึ้นเรือฟริเกต Cassard เพื่อรับการรักษา

ต่อมาลูกเรือทั้งหมดได้ถูกย้ายไปที่เรือสินค้าที่อยู่ใกล้เคียง และเรือฟริเกต Cassard ได้ออกเดินทางต่อไปยังประเทศคูเวตเพื่อเข้าร่วมการฝึกซ้อมทหารเรือทวิภาคี Pearl of the West

เรือรบฝรั่งเศสช่วยลูกเรือบรรทุกยางมะตอย Durban Queen ที่กำลังจมในอ่าวเปอร์เซีย

ครม.อนุมัติ “ปตท.สผ.”ชนะประมูลแหล่งปิโตรเลียม “เอราวัณ-บงกช”

ครม.อนุมัติให้ “ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม” ชนะประมูลแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ-บงกช นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่

ในส่วนของการให้หน่วยงานรัฐเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 25% นั้น เนื่องจากบริษัทที่ชนะการประมูลของทั้ง 2 แปลง คือบริษัทในเครือของ PTTEP ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น ในส่วนของข้อเสนอดังกล่าวบริษัทที่ชนะการประมูลจึงเข้าเงื่อนไขด้านการเข้าร่วมของหน่วยงานรัฐ

ก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อุตสาหกรรมไทยจะปรับตัวและรับมืออย่างไรดี

โลกของอุตสาหกรรมกำลังก้าวสู่การปฏิวัติครั้งใหม่ ที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 (Industries 4.0) ที่จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ‘Industry 4.0’ มาจากชื่อนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของเยอรมนีที่ประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2013 แนวคิดก็คือ โลกของเราจะเข้าสู่ช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ภายใน 20 ปีข้างหน้า ทำให้หลายประเทศต่างก็ตื่นตัวกับผลกระทบที่จะติดตามมาด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจาก ปัจจุบันทุกประเทศบนโลกมีการเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดนในทุกมิติ ทั้งความร่วมมือทางการค้า ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า ในอีกมุมหนึ่ง ย่อมเกิดการแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ด้วยเหตุผลประการหลังนี้เอง หลายประเทศจำเป็นต้องปรับตัวสู่การพัฒนาในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ตามกันไป เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองในการแข่งขันนั่นเอง 

การก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 จะมีเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาทิ เครื่องจักรกลที่คิดได้และสื่อสารเป็น 3D Printing ที่สามารถเปลี่ยนจินตนาการให้เป็นวัตถุของจริงที่จับต้องได้ หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์เสมือนเป็นเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง นอกจากนั้น ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology: IT ที่จะเข้ามาเป็นตัวกลางที่ทำให้การสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร และระหว่างเครื่องจักรด้วยกันองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เทคโนโลยีดังกล่าวนี้เอง ที่จะทำให้รูปแบบการผลิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อประสิทธิภาพการผลิตและเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค

สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะพลิกโฉมหน้าการผลิตไปมากน้อยเพียงใด เทคโนโลยีอัตโนมัติรวมถึงหุ่นยนต์อัจฉริยะจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไรกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ และประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลายแห่งหนึ่งของโลกควรปรับตัวและพัฒนาไปในทิศทางใด มีความท้าทายและโอกาสอะไรที่รอเราอยู่บ้าง เราขอนำท่านไปรับฟังแนวคิดเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมและแนวทางของอุตสาหกรรมไทยในการรับมือการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทั้งจากภาควิชาการและภาคธุรกิจ ติดตามได้ใน Vertical Scoop ฉบับนี้

ทำความรู้จักกับ อุตสาหกรรม 4.0

กว่าจะมาเป็น อุตสาหกรรม 4.0

ย้อนอดีตไปราว 230 ปีก่อน โลกของเราเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งที่สอง และสาม มาเรื่อยๆ จนกระทั้งมาถึงครั้งที่สี่ในปัจจุบัน แต่ละยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอะไรบ้าง เราจะพาท่านไปรู้จักอย่างละเอียด

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 (Industrial Revolution 1.0) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1784 คือ ยุคของการใช้พลังงานจากน้ำ (Hydro Power) แทนการใช้แรงงานคน หรือสัตว์ หรือพลังงานธรรมชาติ เป็นยุคที่เริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้พลังงานไอน้ำจากถ่านหินในกลุ่มอุตสาหกรรมทอผ้า กังหันน้ำที่สร้างพลังงานสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือการใช้ไอน้ำในรถไฟหัวจักรไอน้ำ เป็นต้น

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 (Industrial Revolution 2.0) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1870 เป็นการเปลี่ยนจากการใช้เครื่องจักรไอน้ำ มาใช้พลังงานไฟฟ้าส่งผลให้สามารถปลดปล่อยพลังการผลิตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตมาเป็นระบบโรงงาน ทำให้เกิดการผลิตสินค้าคราวละมากๆ และมีคุณภาพที่เทียบเท่างานหัตถกรรม ที่สำคัญคือ สินค้าราคาไม่แพง ทุกคนสามารถบริโภคได้ ทำให้เกิดกระแสบริโภคนิยมไปทั่วโลก

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 (Industrial Revolution 3.0) เกิดขึ้นในปีค.ศ. 1969 เป็นยุคของการใช้อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีไอทีในการผลิต มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตและระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ มีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิต แทนที่แรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industrial Revolution 4.0) คือ การนำเทคโนโลยีดิจิตัลและอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า จุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือสามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง พูดง่ายๆ ก็คือ โรงงานยุค 3.0 สามารถผลิตของแบบเดียวกันจำนวนมากในเวลาสั้นๆ แต่โรงงานยุค 4.0 จะสามารถผลิตของหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละราย เป็นจำนวนมากในเวลาพริบตาเดียว โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิตัลครบวงจร แบบ ‘Smart Factory’

ลักษณะของอุตสาหกรรม 4.0

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ ‘Internet of Things (IoT)’ ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์หน่วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยน ข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระ เพื่อการจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมด

จุดเด่นของอุตสาหกรรม 4.0 คือการที่เครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติสามารถเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเครือข่ายผ่ายอินเตอร์เน็ต จึงสามารถแบ่งปันข้อมูลข่าวสารถึงกันหมด รวมทั้งสามารถใช้ทรัพยากรบางส่วนร่วมกันได้ เครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะมีความสามารถที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านการทำงานด้วยตนเอง ความยืดหยุ่นและการปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขการผลิต มีความสามารถในการตรวจสอบและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ นอกจากนี้ เครื่องจักรในอนาคตจะมีโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและดูแลสุขภาพของเครื่องจักร เพื่อยืดอายุการทำงานของเครื่องจักร อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนการผลิตและประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร กล่าวคือ เครื่องจักรจะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากตัวเครื่องจักรที่เป็นอัจฉริยะแล้ว โรงงานในยุค 4.0 ก็จะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นด้วย โดยที่โรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Factory จะสามารถกำหนดระบุกิจกรรมเงื่อนไขรวมทั้งสภาพแวดล้อมของการผลิต สามารถสื่อสารกับหน่วยอื่นๆ ได้อย่างอิสระแบบไร้สาย สามารถผลิตสินค้าตามคำสั่งโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น เวลา ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง การรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ เป็นระบบการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด

บทบาทเทคโนโลยีออโตเมชั่น กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0

จุดเด่นของ อุตสาหกรรม 4.0 คือ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรและระบบ ในลักษณะ Industrial automationเพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภครายบุคคล แต่ยังรักษาประสิทธิภาพการผลิตที่สูงในระดับเดียวกับการผลิตแบบคราวละมากๆ อาทิ การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีการพิมพ์ 3D การพัฒนาระบบ smart grid การแพทย์สาขา telemedicine เป็นต้น

เทคโนโลยีออโตเมชั่น จึงกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอย่างมากในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นี้ สำหรับประเทศไทย ควรจะปรับตัวและนำเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาช่วยงานในการผลิตให้มากขึ้น และเหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ

รศ.พิชิต ลำยอง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า อุตสาหกรรมที่เป็นออโตเมชั่น มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนด้านแรงงาน เนื่องจากระบบออโตเมชั่น สามารถเข้ามาทดแทนการทำงานบางอย่างของมนุษย์ได้ และให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีการนำระบบออโตเมชั่นมาใช้งานแล้วตลอดหลายสิบปีที่ผ่าน แต่เป็นไปในลักษณะการใช้งานเฉพาะบางส่วน ไม่ใช่เต็มรูปแบบ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังไม่มีศักยภาพเพียงพอถึงขั้นที่จะสามารถผลิตเทคโนโลยีใช้งานได้เอง และถึงแม้จะมีการวิจัยและพัฒนาอย่างมากมายแต่ก็ยังไม่สามารถนำมาปรับใช้เพื่ออำนวยความสะดวกไดอย่างเต็มรูปแบบจริงจัง และไม่สามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงได้

รศ.พิชิต ให้มุมมองว่า สำหรับประเทศไทย ยังอาจต้องใช้เวลาอีกยาวนานตราบใดที่คนไทยยังไม่สามารถผลิตเทคโนโลยีได้เอง เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด สาระสำคัญอยู่ที่ว่า เราต้องมองให้ออกว่าโลกทุกวันนี้มีเทคโนโลยีอะไรที่เราสามารถหยิบมาใช้งานกับการผลิตของเราบ้าง และเรามีจุดเด่นอะไรที่สามารถต่อยอดให้ถึงขีดสุดได้บ้าง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจและสังคม

นอกจากนั้นแล้ว การนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานยังต้องรู้จักเลือกใช้ในงานที่สามารถต่อยอดและเป็นจุดเด่นของประเทศ สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมที่ถือเป็นจุดเด่นของเราคือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เราจึงควรผลักดันนำเอาระบบอัตโนมัติเข้าไปพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมนี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการผลิต ลำเลียงวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง เป็นต้น

“ออโตเมชั่น ไม่จำกัดอยู่เพียงในมิติของการผลิตเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ถูกนำไปใช้งานในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แม้แต่ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะประเทศไทย มีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ก็มีความจำเป็นต้องนำออโตเมชั่นมาใช้กับการผลิตของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรให้มากขึ้น ประเทศเราควรนำเอาออโตเมชั่นมาใช้งานกับการเกษตรอย่างชาญฉลาด ให้ครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการปลูก การเก็บเกี่ยว การผลิต แปรรูป การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง เป็นต้น เรียกว่า เป็นการนำระบบออโตเมชั่นมาใช้ให้ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ” รศ.พิชิตกล่าว

หากเราไม่ใช้เทคโนโลยีออโตเมชั่นเข้ามาช่วยในการผลิต เราจะไม่สามารถขับเคลื่อนศักยภาพของประเทศ ไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าระดับโลกได้ เราต้องมองข้ามการผลิตสินค้าสำหรับบริโภคเฉพาะในระดับประเทศหรือระดับภูมิภาคแต่ต้องมองไปให้ไกลให้สินค้าเป็นสินค้าที่คนทั่วโลกต้องใช้ เราต้องเข้าใจว่าความสามารถและศักยภาพของเราว่าเหมาะสมกับด้านไหน เก่งด้านไหน และสามารถนำออโตเมชั่นมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร เป็นการดึงศักยภาพที่แท้จริงของประเทศไทยมาพัฒนาโดยใช้ออโตเมชั่นเป็นเครื่องมือ สรุปคือ ภาคอุตสาหกรรมไทยก็ต้องพึ่งพาออโตเมชั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และที่สำคัญคือเพื่อเป็นการลดปัญหาด้านต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

เสียงจากผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีออโตเมชั่น พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

หากจะว่ากันไปแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการนำระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่เราใช้กันอยู่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แม้กระนั้น ก็ยังมีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการพยายามนำระบบอัตโนมัติมาสู่การพัฒนาประเทศในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเราได้ไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติ 2 รายด้วยกัน โดยทั้ง 2 ท่าน ได้พูดถึงแนวโน้มในอนาคตของวงการออโตเมชั่น และบทบาทต่อการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ ดังนี้

คุณดุษฎีศักดิ์ สติวินัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นดี อิเลคทริค จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายระบบออโตเมชั่นด้านความปลอดภัย (Safety Automation) เป็นหลัก โดยผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าและจำหน่าย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ แบรนด์ PILZ ระบบควบคุมอัตโนมัติจากเยอรมนี เป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมความปลอดภัยระบบอัตโนมัติที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลก สามารถสั่งการและควบคุมการปฏิบัติงานของโรงงานได้ทั้งระบบนอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย มิใช่เพียงในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ระบบอัตโนมัติดังกล่าว ยังถูกนำไปใช้ในระบบของสนามบิน ระบบควบคุมไฟฟ้าในอาคาร ระบบเตือนเหตุไฟไหม้ การขนส่งระบบราง เป็นต้น

คุณดุษฎีศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับเทรนด์ในอนาคต ระบบความปลอดภัยจะถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องใส่ใจมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการเสรีอาเซียน แรงงานมีการถ่ายโอนและเคลื่อนย้ายมากขึ้น จะมีผลต่อความปลอดภัยและจำเป็นต้องพึ่งพาระบบอัตโนมัติที่มีความเสถียร มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

“เชื่อว่าผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมบ้านเรา อนาคตเราคงไม่เห็นภาพที่มีคนงานนั่งเรียงกันรับช่วงงานกันเป็นจำนวนมาก แต่จะใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทน” คุณดุษฎีศักดิ์ กล่าว

คุณศักดา สารพัดวิทยา ผู้จัดการ บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด บริษัทดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการวางระบบควบคุมอัตโนมัติปฏิบัติงานให้แก่อุตสาหกรรมระบบโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่ อาทิ สนามบิน รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีประสบการณ์ด้านงานระบบออโตเมชั่นมายาวนาน ทั้งประสบการณ์การทำงานทั้งในและต่างประเทศ มีแนวคิดในการใช้วิธีส่งผ่านองค์ความรู้จากระดับโลก มาสู่การพัฒนาระดับประเทศ และนำการพัฒนาระดับประเทศไปต่อยอดและเผยแพร่ยังต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง จากประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศ ทำให้เห็นขั้นตอนกระบวนการบริหารจัดการที่มีศักยภาพเหนือกว่าอุตสาหกรรมในบ้านเรา ทำให้ได้แนวคิดในการนำความรู้เรื่องไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติมาใช้กับอุตสาหกรรมบ้านเราให้มากขึ้น และวางตัวเองเป็นผู้ประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติกับอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานและระบบโรงงานอัตโนมัติ ปัจจุบัน บริษัทฯ มีขีดความสามารถในการส่งเสริมการทำงานของหน่วยงานใหญ่ๆ โดยมองตัวเองเป็นเหมือนแผนกออโตเมชั่นในบริษัทใหญ่ๆ นั้นๆ ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมการทำงานขององค์กรเหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความฉลาดของระบบที่บริษัทฯ มี บวกกับความเชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ ของทีมงาน อาทิ โรงงานไฟฟ้า ด้านการจัดการความปลอดภัย การจัดการด้านพลังงาน อาหาร โลจิสติกส์ เป็นต้น ทำให้สามารถผลักดันงานออโตเมชั่นไปสู่ภาคส่วนต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่าออโตเมชั่นในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในหน่วยของอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ความพร้อมประเทศไทย ต่อการก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

สำหรับประเทศไทย ที่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องตื่นตัวกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งนี้ ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า รัฐบาลเองพยายามที่จะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตัลมากขึ้น รวมทั้งขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งเสริม E-Commerce, E-Document และ E-Learning ซึ่งล้วนเป็นการวางรากฐานการพัฒนาสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับคนไทยโดยการปรับเปลี่ยนและนำเอาเทคโนโลยีออโตเมชั่นมาใช้งานนั้น คงต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของอุตสาหกรรมในบ้านเรา และต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทยอีกด้วย

คุณดุษฎีศักดิ์ กล่าวว่า โรงงานผู้ผลิตคนไทยยังไม่นิยมใช้งานระบบอัตโนมัติมากนัก เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูงและฟุ่มเฟือยเกินไป ทั้งที่จริงแล้ว การลงทุนระบบอัตโนมัติมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ช่วยให้การตรวจสอบทำได้ง่ายและแม่นยำขึ้น มีความเสถียรมากขึ้น ใช้คนน้อยลง ก็จะสงผลให้ต้นทุนการผลิตลดน้อยลง ในขณะที่ประสิทธิภาพที่ได้สูงขึ้น

ด้านคุณศักดา ให้ความเห็นว่า สำหรับเมืองไทยอาจยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการปรับตัวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ธรรมชาติของอุตสาหกรรมในบ้านเราเป็นอุตสาหกรรมที่ยังต้องพึ่งพาฝีมือแรงงานอยู่ไม่น้อย การตัดสินใจใช้ระบบอัตโนมัติในการปฏิบัติงานแบบทั้งระบบอาจไม่เป็นผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเป็นการลงทุนที่เกินความจำเป็น ของบางอย่างไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบอัตโนมัติเสมอไป จึงควรนำปรับใช้เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติน่าจะดีกว่า เพราะบริบทของอุตสาหกรรมในบ้านเรายังต้องการการทำงานที่ใช้ฝีมือ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบออโตเมชั่นก็จะเหมาะกับบางระบบ เช่น ระบบที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ ที่คนไม่สามารถทำงานได้ จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก อาจใช้วิธีการบริหารจัดการรูปแบบอื่นๆ และใช้ออโตเมชั่นมาเสริม เรามีบุคลากรที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ควรที่จะนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับธรรมชาติของแต่ละองค์กรมากกว่า

“สำหรับภาคการผลิต มีการลงทุนด้านระบบออโตเมชั่นด้วยเป้าประสงค์หลายประการ อาทิ ลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ ลงทุนเพื่อลดรายจ่าย หากพิจารณาว่าการลงทุนนั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งสองประการข้างต้นได้ การลงทุนนั้นย่อมดีแน่นอน แต่อาจต้องวิเคราะห์เพิ่มว่า ระบบนั้นถ้านำมาใช้งานแล้วจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนหรือไม่หรือจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตพวกเขาเหล่านั้นมากกว่ากัน หากออโตเมชั่นสามรถมาทดแทนการทำงานของคน แล้วบริหารจัดการและพัฒนาให้คนๆ นั้นมีศักยภาพในการทำงานที่ดีขึ้น หรือพัฒนาไปสู่การทำงานในด้านอื่นที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับชีวิตเขา นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เมื่อคนมีการพัฒนา ก็ส่งผลให้องค์กรได้มีขีดความสามรถเพิ่มขึ้นเป็นผลพลอยได้” คุณศักดา กล่าวเสริม

“มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ควร” เป็นบทสรุปได้เป็นอย่างดีสำหรับอุตสาหกรรมบ้านเราหากจะต้องนำเอาระบบอัตโนมัติ หรือ ออโตเมชั่น มาใช้งาน สิ่งสำคัญอยู่ที่ “จุดตรงกลาง” กล่าวคือ จะต้องพิจารณาการใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติให้เหมาะสมกับบริบทของอุตสาหกรรมในประเทศ ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น แต่ต้องไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด