ภาษีเทคโนโลยีของ Trump กำไรของ SEA

แม้ว่าความทุกข์ทรมานจากกำแพงภาษีและนโยบายต่างๆ ของ Donald Trump ตั้งใจส่งผลกระทบหลักกับประเทศจีน ซึ่งประเทศอื่นๆ ต่างได้รับผลกระทบตามๆ กันไป ในขณะที่กลุ่มประเทศ SEA กลับเป็นโอกาสอันดีงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสินค้าเทคโนโลยี

การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนสู้ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นทำให้ผู้ประกอบการที่ต้องพึ่งพิงการผลิตที่มีต้นทุนถูก เช่น iPhone จาก Apple Inc. เริ่มกระจายความเสี่ยงและให้ความสนใจในการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้าน Capacitors แผงวงจร Hard-Drive และชุด Bluetooth Headset

กลุ่มประเทศผู้นำการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียตนามนั้นต่างมีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนและผู้ผลิตมองเห็นช่องดังกล่าว เริ่มต้นการลงทุนในภาคส่วนนี้ โดยประเทศไทยมี Sub-Index สูงถึง 14.5% ในเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ตลาดเติบโตเพียง 4.8% ในขณะที่สมาชิก 28 รายของภาคเทคโนโลยีสารสนเทศของมาเลเซียโตขึ้นมีผลตอบแทน 8.4% ในขณะที่ผลตอบแทนตลาดอยู่ที่ 4.6%

ในขณะเดียวกันนักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา เช่น Harley-Davidson ที่มีการย้ายฐานการผลิตบางส่วนมายังประเทศไทยเพื่อเตรียมความพร้อมจำหน่ายสินค้าในยุโรป ซึ่งปัจจุบันยุโรปวางนโยบายกำแพงภาษีเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ เช่นกัน

พลิกปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง ด้วยระบบการบำรุงรักษาเชิงรุก

เนื่องจากปัญหาเครื่องจักรขัดข้องจะส่งผลกระทบต่อผลิตภาพกระบวนการและอาจรุนแรงถึงต้องหยุดสายการผลิต รวมถึงการใช้เวลาแก้ไขปัญหานาน ส่งผลให้เกิดงานระหว่างผลิตในรูปสต็อกค้าง สภาพดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในสายการผลิต ทำให้งานบำรุงรักษาเป็นปัจจัยสนับสนุนความน่าเชื่อถือกระบวนการ โดยเฉพาะการดำเนินกิจกรรมบำรุงรักษาที่มุ่งป้องกันการเกิดปัญหาความขัดข้องของเครื่องจักรและการซ่อมแซมหากเกิดปัญหาขึ้นขณะใช้งาน

เป็นที่น่าเสียดายว่าฝ่ายงานบำรุงรักษามักมองข้ามความสำคัญกิจกรรมการขจัดความสูญเปล่าซึ่งเป็นหัวใจหลักของการเพิ่มผลิตภาพ ทำให้การมุ่งสู่ความเป็นเลิศในงานบำรุงรักษาต้องปรับกระบวนทัศน์ การบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) สู่การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) ซึ่งมีความหมายและแนวทางตรงข้ามกับการบำรุงรักษาเชิงรับที่ดำเนินการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรเกิดปัญหาขัดข้อง

โดยที่การบำรุงรักษาเชิงรุกจะมุ่งแนวทางบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์เพื่อดำเนินการป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุขัดข้องหรือความชำรุดเสียหาย ซึ่งไม่เพียงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวันเท่านั้น แต่จะมีการวิเคราะห์หาสาเหตุหลักของปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อดำเนินการแก้ไขและป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิมขึ้นอีก ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบการผลิตแต่แนวทางดังกล่าวจะเกิดประสิทธิผลก็ต่อเมื่อองค์กรดำเนินตามแนวคิดลีนและกิจกรรมบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง มอบหมายให้สมาชิกทีมงานทุกคนมีส่วนร่วมระบุสาเหตุหลักแห่งความสูญเปล่า

ระบบบำรุงรักษาเชิงรุก

สำหรับความรับผิดชอบของวิศวกรบำรุงรักษาจะต้องมุ่งค้นหาและจำแนกสาเหตุหลักของปัญหาเพื่อระบุแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการและเครื่องมือหลัก โดยเฉพาะการวิเคราะห์หาสาเหตุหลักความชำรุดเสียหาย (Root Cause Failure Analysis) ดังนี้

  • วิเคราะห์สาเหตุหลัก
  • ประเภทปัญหาความบกพร่องในกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อการเดินเครื่องจักรและคุณภาพผลิตผล
  • โดยมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการควบคุมคุณภาพสู่การประกันคุณภาพด้วยการศึกษาองค์ประกอบหลักของเครื่องจักรที่ส่งผลต่อคุณภาพผลิตผลและขจัดต้นตอปัญหาดังกล่าว
  • โดยมีการติดตามวัดผลตามรอบเวลาเพื่อใช้ข้อมูลระบุกิจกรรมไคเซ็นและจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็น

ประกอบด้วยรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาทิ

  • ตำแหน่งที่เกิดปัญหาความบกพร่อง
  • ความรุนแรงแต่ละประเภทปัญหา
  • ความถี่การตรวจพบปัญหาแต่ละช่วงการทดสอบ
  • แนวโน้มการเกิดปัญหาคุณภาพตามรอบเวลา

ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ โดยเฉพาะเงื่อนไขการทำงานแต่ละกระบวนการ อาทิ

  • แรงงาน
  • วิธีการทำงาน
  • วัสดุ และเครื่องจักร
  • การกำหนดมาตรฐานหรือเงื่อนไขการทำงานแต่ละกระบวนการ
  • ข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับสภาพการทำงานขณะที่เกิดปัญหาขึ้น

โดยองค์ประกอบหรือชิ้นส่วนหลักถูกระบุไว้ในระบบย่อย โดยจะใช้ข้อมูลประวัติการขัดข้องและการซ่อมแซมจากความชำรุดดังกล่าวที่อาจเป็นสาเหตุความชำรุดในระบบย่อย ซึ่งรูปแบบความชำรุดเสียหายแต่ละองค์ประกอบถูกระบุเพื่อประเมินวัดความเสี่ยงโดยลำดับตามค่าวิกฤตความชำรุดเสียหายจากการใช้งาน (Functional Failure) หากมีข้อเสนอจัดการความชำรุดเสียหายมากกว่าสองหัวข้อขึ้นไปซึ่งมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคถือว่าข้อเสนอเหล่านี้เกิดประสิทธิผลทางต้นทุนและควรได้รับคัดเลือกเพื่อดำเนินการ


สารสนเทศงานบำรุงรักษา

สำหรับประเด็นปัญหาเครื่องจักรขัดข้องจะเกิดการรอคอยชิ้นส่วนอะไหล่ ทำให้เกิดความสูญเสียเวลารอคอยและส่งผลกระทบต่อสายการผลิต ทำให้มีความจำเป็นในการบริหารจัดการคลังอะไหล่ โดยพิจารณาปัจจัยที่สามารถลดผลกระทบต่อการตอบสนองการให้บริการ อาทิ อายุเครื่องจักร อัตราการใช้อะไหล่ แหล่งจัดหาจัดซื้อ ระยะเวลาการส่งมอบและความพร้อมของอะไหล่ในตลาด

ส่วนห้องจัดเก็บอะไหล่ตามแนวคิดลีนควรมีสโตร์ย่อยเพื่อจัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ไว้หลายแห่งภายในโรงงานแทนแนวทางทั่วไปที่จัดเก็บเฉพาะในสโตร์กลาง โดยสโตร์ย่อยจะจัดเก็บเฉพาะอะไหล่ที่ถูกใช้ประจำไว้บริเวณจุดใช้งาน (Point-of-Use) เพื่อสะดวกต่อการหยิบหรือเบิกใช้งาน ตามแนวคิดสโตร์แบบลีน (Lean Store) จะดำเนินการจัดทำมาตรฐานชิ้นส่วนอะไหล่ทั่วไปที่มีการเบิกใช้บ่อย เพื่อประหยัดเวลาค้นหาและทำให้ลดเวลารอคอย

รวมถึงลดปริมาณการสต็อกสำรองอะไหล่ที่หลากหลายประเภท อาทิ ลูกปืน มอเตอร์ ปั๊ม ทำให้ต้นทุนการจัดหาจัดซื้อและการจัดเก็บรักษาลดลง สอดคล้องกับแนวคิดการผลิตแบบลีน โดยแผนงานระยะยาวอาจพัฒนาแนวทางบริหารจัดเก็บอะไหล่ร่วมกับระบบฐานข้อมูล CMMS สามารถแสดงรายการชิ้นส่วนด้วยใบแสดงรายการวัสดุ หรือ BOM สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศกับงานจัดซื้อเพื่อบริหารสต็อกอย่างมีประสิทธิผล


แนวโน้มผลลัพธ์ติดตามสภาพเครื่องจักร

ส่วนการวิเคราะห์แนวโน้มเครื่องจักรด้วยการตรวจติดตามสภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์(Predictive Maintenance) โดยนำผลลัพธ์การตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรมาวิเคราะห์เพื่อระบุข้อกำหนดทางปัจจัยเดินเครื่อง อาทิ อุณหภูมิ ความเร็วรอบ และรอบเวลาบำรุงรักษาที่เหมาะสม

โดยมีการนำเทคโนโลยีที่ใช้ติดตามระบบการผลิตและจัดเก็บข้อมูลสภาพเครื่องจักรขณะใช้งาน ที่มุ่งวิเคราะห์แนวทางป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุขัดข้องหรือความเสียหาย ด้วยการบูรณาการเทคนิคการจัดการและเทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์และระบุแนวทางแก้ปัญหา รวมถึงเชื่อมโยงกับระบบวางแผนบำรุงรักษา ทำให้ระบบการผลิตเกิดความน่าเชื่อถือและส่งผลให้เกิดต้นทุนการผลิตลดลง

แต่สิ่งสำคัญในการบริหารงานบำรุงรักษา คือ การสร้างสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายบำรุงรักษากับผลตอบแทนเพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนที่เกินความจำเป็น ดังนั้น การเพิ่มสมรรถนะเครื่องจักรและลดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาเป็นประเด็นหลักของระบบสารสนเทศ ซึ่งประสิทธิผลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อระบบสารสนเทศงานบำรุงรักษาสามารถยืดช่วงเวลาเฉลี่ยการเกิดความเสียหายหรือ MTBF และสามารถลดเวลาเฉลี่ยการซ่อมแซม (Mean Time To Repair) หรือ MTTR โดยทั้ง MTBF และ MTTR เป็นปัจจัยชี้วัดประสิทธิผลการสร้างความน่าเชื่อถือและความพร้อมระบบ (Availability)

EXECUTIVE SUMMARY

Proactive maintenance is a method that focus on preventive maintenance and predictive maintenance to take an action before the system failed or broke. Not only prevent routine problem, the method will analyze the major problem with systematic to take action and prevent the same problem to be occurred recently. This method created reliability for the manufacturing system but it will be effective when the organization applied lean and TPM continuously, and also assign every member to cooperation in the identification of waste’s activity

ยกระดับขั้นสูงสุด! รับมือ ‘ปาบึก’ ทร.ส่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นฐานบัญชาการลอยน้ำ

ผบ.ทร. สั่งยกระดับการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุด มอบหมายให้ ‘เรือหลวงจักรีนฤเบศร’ เป็นเรือบัญชาการลอยน้ำ รับมือพายุปาบึก พร้อมออกเรือได้ภายใน 24 ชม.

วันที่ 3 ม.ค. 62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลเรือเอกลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการ ทหารเรือ (ผบ.ทร.) ได้สั่งการเร่งด่วนให้ยกระดับการเตรียมพร้อมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยขั้นสูงสุด โดยมอบหมายให้ เรือหลวงจักรีนฤเบศร หมายเลข 911 ซึ่งเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดใหญ่ ที่จอดเทียบ ณ การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นหมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณะภัยทางทะเล กองทัพเรือ พร้อมออกเดินทางภายใน 24 ชม. ภายในวันที่ 4 ม.ค. เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือประชาชน กรณีหากเกิดภัยพิบัติจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ในพื้นที่ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช

บริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับ ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ กลไก ในเรือเดินสมุทร และโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมแซม เครื่องจักร เครื่องยนต์ ตรวจเช็คระบบ ภายในเรือเดินสมุทรทุกชนิด

สำหรับภารกิจให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยของ หมู่เรือเฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล เป็นการเตรียมการขั้นสูงสุด มีกำลังพล และยุทโธปกรณ์ จากหน่วยขึ้นตรงของกองทัพเรือ ประกอบด้วย เฮลิคอปเตอร์ ปฏิบัติการกองทัพเรือ 4 ลำ ,ชุดปฏิบัติการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ (Maritime Aquatic Life Support Team: MAL) ,ชุดสำรวจสำรวจและประเมินความเสียหาย ทร. (Naval Disaster Assessment Team:NDAT) ,ชุดค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนบก และชุดปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์ ซึ่งเรือจะใช้เวลาในการเดินทางถึงที่หมายประมาณ 15 ชม.

บริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับ ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ กลไก ในเรือเดินสมุทร และโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมแซม เครื่องจักร เครื่องยนต์ ตรวจเช็คระบบ ภายในเรือเดินสมุทรทุกชนิด

18 รายชิงท่าเรือซื้อซองประมูล ‘มาบตาพุด’ เฟส 3

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 เป็นหนึ่งใน 5 โครงการหลักของรัฐบาลในการเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่จะเริ่มมีการพัฒนาก่อสร้างในปี 2563 โดยโครงการดังกล่าว กนอ.ได้เริ่มเปิดขายเอกสารการ คัดเลือก Request for Proposal (RFP) ตั้งแต่วันที่ 9-21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งการเปิดขายซองทีโออาร์ เป็นตามแผนที่กำหนดไว้

โดยมีผู้สนใจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ที่สนใจมาซื้อซอง รวมทั้งสิ้น 18 ราย  ประกอบด้วย 
1. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  
2. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 
4. บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 
6. บริษัท China Harbour Engineering Co.,Ltd. 
7. บริษัท Tokyo Gas Co.,Ltd. 8. บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด 
9. บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด  
10. บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
11. บริษัท Mitsui & Co., Ltd. 
12. บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จำกัด  
13. บริษัท China Railway Construction Corporation Limite 
14. บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 
15. บริษัท Boskalis International B.V.  
16. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 
17. บริษัท Vopak LNG Holding B.V.  
18. บริษัท สหการวิศวกร จำกัด

ทั้งนี้ในวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายนนี้ กนอ.จะมีการจัดประชุมชี้แจงให้กับผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 บริษัท เพื่อทำความเข้าใจในข้อกำหนด เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ พร้อมตอบข้อซักถามรายละเอียดต่างๆ ณ สำนักงานใหญ่ การนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) และในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 จะนำคณะภาคเอกชนดูพื้นที่โครงการท่าเรือฯมาบตาพุดระยะ 3 ที่จังหวัดระยอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเขียนข้อเสนอทางเทคนิค ภายใต้ทีโออาร์ที่กำหนดไว้

นางสาวสมจิณณ์กล่าวว่า กนอ.ได้กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและราคา ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 และ คาดว่าการพิจารณาคัดเลือกเอกชนดำเนินการพัฒนาโครงการท่าเรือฯมาบตาพุด ระยะ 3 จะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

สำหรับแผนการพัฒนาท่าเรือฯ มาบตาพุด ระยะ 3 คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2567โดยใน 3 ปีแรก จะเริ่มงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่ งานถมทะเล งานขุดลอกร่องน้ำเดินเรือ งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น เป็นต้น และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และส่วนที่เหลือจะเป็นการก่อสร้างส่วนท่าเทียบเรือบนพื้นที่ถมทะเล (Superstructure) โดยการพัฒนาท่าเทียบเรือ วัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า ได้แก่ การก่อสร้างท่าเทียบ เรือสินค้าเหลว ท่าเทียบเรือก๊าซ ท่าเทียบเรือบริการ และคลังสินค้า เป็นต้น หากก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าเหลวได้ประมาณ 15 ล้านตันต่อปี ในอีก 30 ปีข้างหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดประมูลในส่วนของ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3  พบว่ามีเอกชนสนใจเข้าซื้อซองรวม 32 ราย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม และฮอลแลนด์ เป็นต้น ในส่วนโครงการนี้คาดว่าลงนามสัญญาโครงการ ในช่วงกลางปีหน้า

ครม.อนุมัติ “ปตท.สผ.”ชนะประมูลแหล่งปิโตรเลียม “เอราวัณ-บงกช”

ครม.อนุมัติให้ “ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม” ชนะประมูลแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณ-บงกช นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่

ในส่วนของการให้หน่วยงานรัฐเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 25% นั้น เนื่องจากบริษัทที่ชนะการประมูลของทั้ง 2 แปลง คือบริษัทในเครือของ PTTEP ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น ในส่วนของข้อเสนอดังกล่าวบริษัทที่ชนะการประมูลจึงเข้าเงื่อนไขด้านการเข้าร่วมของหน่วยงานรัฐ

ก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อุตสาหกรรมไทยจะปรับตัวและรับมืออย่างไรดี

โลกของอุตสาหกรรมกำลังก้าวสู่การปฏิวัติครั้งใหม่ ที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 (Industries 4.0) ที่จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ‘Industry 4.0’ มาจากชื่อนโยบายอุตสาหกรรมแห่งชาติของเยอรมนีที่ประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2013 แนวคิดก็คือ โลกของเราจะเข้าสู่ช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ภายใน 20 ปีข้างหน้า ทำให้หลายประเทศต่างก็ตื่นตัวกับผลกระทบที่จะติดตามมาด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจาก ปัจจุบันทุกประเทศบนโลกมีการเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดนในทุกมิติ ทั้งความร่วมมือทางการค้า ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า ในอีกมุมหนึ่ง ย่อมเกิดการแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ด้วยเหตุผลประการหลังนี้เอง หลายประเทศจำเป็นต้องปรับตัวสู่การพัฒนาในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ตามกันไป เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองในการแข่งขันนั่นเอง 

การก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 จะมีเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาทิ เครื่องจักรกลที่คิดได้และสื่อสารเป็น 3D Printing ที่สามารถเปลี่ยนจินตนาการให้เป็นวัตถุของจริงที่จับต้องได้ หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์เสมือนเป็นเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง นอกจากนั้น ยังมีเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology: IT ที่จะเข้ามาเป็นตัวกลางที่ทำให้การสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร และระหว่างเครื่องจักรด้วยกันองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เทคโนโลยีดังกล่าวนี้เอง ที่จะทำให้รูปแบบการผลิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อประสิทธิภาพการผลิตและเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค

สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะพลิกโฉมหน้าการผลิตไปมากน้อยเพียงใด เทคโนโลยีอัตโนมัติรวมถึงหุ่นยนต์อัจฉริยะจะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไรกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ และประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลายแห่งหนึ่งของโลกควรปรับตัวและพัฒนาไปในทิศทางใด มีความท้าทายและโอกาสอะไรที่รอเราอยู่บ้าง เราขอนำท่านไปรับฟังแนวคิดเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมและแนวทางของอุตสาหกรรมไทยในการรับมือการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทั้งจากภาควิชาการและภาคธุรกิจ ติดตามได้ใน Vertical Scoop ฉบับนี้

ทำความรู้จักกับ อุตสาหกรรม 4.0

กว่าจะมาเป็น อุตสาหกรรม 4.0

ย้อนอดีตไปราว 230 ปีก่อน โลกของเราเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งที่สอง และสาม มาเรื่อยๆ จนกระทั้งมาถึงครั้งที่สี่ในปัจจุบัน แต่ละยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอะไรบ้าง เราจะพาท่านไปรู้จักอย่างละเอียด

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 (Industrial Revolution 1.0) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1784 คือ ยุคของการใช้พลังงานจากน้ำ (Hydro Power) แทนการใช้แรงงานคน หรือสัตว์ หรือพลังงานธรรมชาติ เป็นยุคที่เริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้พลังงานไอน้ำจากถ่านหินในกลุ่มอุตสาหกรรมทอผ้า กังหันน้ำที่สร้างพลังงานสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือการใช้ไอน้ำในรถไฟหัวจักรไอน้ำ เป็นต้น

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 (Industrial Revolution 2.0) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1870 เป็นการเปลี่ยนจากการใช้เครื่องจักรไอน้ำ มาใช้พลังงานไฟฟ้าส่งผลให้สามารถปลดปล่อยพลังการผลิตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตมาเป็นระบบโรงงาน ทำให้เกิดการผลิตสินค้าคราวละมากๆ และมีคุณภาพที่เทียบเท่างานหัตถกรรม ที่สำคัญคือ สินค้าราคาไม่แพง ทุกคนสามารถบริโภคได้ ทำให้เกิดกระแสบริโภคนิยมไปทั่วโลก

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 (Industrial Revolution 3.0) เกิดขึ้นในปีค.ศ. 1969 เป็นยุคของการใช้อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีไอทีในการผลิต มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตและระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ มีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิต แทนที่แรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industrial Revolution 4.0) คือ การนำเทคโนโลยีดิจิตัลและอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า จุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือสามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง พูดง่ายๆ ก็คือ โรงงานยุค 3.0 สามารถผลิตของแบบเดียวกันจำนวนมากในเวลาสั้นๆ แต่โรงงานยุค 4.0 จะสามารถผลิตของหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละราย เป็นจำนวนมากในเวลาพริบตาเดียว โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิตัลครบวงจร แบบ ‘Smart Factory’

ลักษณะของอุตสาหกรรม 4.0

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ ‘Internet of Things (IoT)’ ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์หน่วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยน ข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระ เพื่อการจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมด

จุดเด่นของอุตสาหกรรม 4.0 คือการที่เครื่องจักรหรือระบบอัตโนมัติสามารถเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเครือข่ายผ่ายอินเตอร์เน็ต จึงสามารถแบ่งปันข้อมูลข่าวสารถึงกันหมด รวมทั้งสามารถใช้ทรัพยากรบางส่วนร่วมกันได้ เครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะมีความสามารถที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านการทำงานด้วยตนเอง ความยืดหยุ่นและการปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขการผลิต มีความสามารถในการตรวจสอบและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ นอกจากนี้ เครื่องจักรในอนาคตจะมีโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและดูแลสุขภาพของเครื่องจักร เพื่อยืดอายุการทำงานของเครื่องจักร อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนการผลิตและประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร กล่าวคือ เครื่องจักรจะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากตัวเครื่องจักรที่เป็นอัจฉริยะแล้ว โรงงานในยุค 4.0 ก็จะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นด้วย โดยที่โรงงานอัจฉริยะ หรือ Smart Factory จะสามารถกำหนดระบุกิจกรรมเงื่อนไขรวมทั้งสภาพแวดล้อมของการผลิต สามารถสื่อสารกับหน่วยอื่นๆ ได้อย่างอิสระแบบไร้สาย สามารถผลิตสินค้าตามคำสั่งโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น เวลา ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง การรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ เป็นระบบการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด

บทบาทเทคโนโลยีออโตเมชั่น กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0

จุดเด่นของ อุตสาหกรรม 4.0 คือ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรและระบบ ในลักษณะ Industrial automationเพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภครายบุคคล แต่ยังรักษาประสิทธิภาพการผลิตที่สูงในระดับเดียวกับการผลิตแบบคราวละมากๆ อาทิ การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีการพิมพ์ 3D การพัฒนาระบบ smart grid การแพทย์สาขา telemedicine เป็นต้น

เทคโนโลยีออโตเมชั่น จึงกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอย่างมากในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นี้ สำหรับประเทศไทย ควรจะปรับตัวและนำเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาช่วยงานในการผลิตให้มากขึ้น และเหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ

รศ.พิชิต ลำยอง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า อุตสาหกรรมที่เป็นออโตเมชั่น มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนด้านแรงงาน เนื่องจากระบบออโตเมชั่น สามารถเข้ามาทดแทนการทำงานบางอย่างของมนุษย์ได้ และให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีการนำระบบออโตเมชั่นมาใช้งานแล้วตลอดหลายสิบปีที่ผ่าน แต่เป็นไปในลักษณะการใช้งานเฉพาะบางส่วน ไม่ใช่เต็มรูปแบบ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังไม่มีศักยภาพเพียงพอถึงขั้นที่จะสามารถผลิตเทคโนโลยีใช้งานได้เอง และถึงแม้จะมีการวิจัยและพัฒนาอย่างมากมายแต่ก็ยังไม่สามารถนำมาปรับใช้เพื่ออำนวยความสะดวกไดอย่างเต็มรูปแบบจริงจัง และไม่สามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงได้

รศ.พิชิต ให้มุมมองว่า สำหรับประเทศไทย ยังอาจต้องใช้เวลาอีกยาวนานตราบใดที่คนไทยยังไม่สามารถผลิตเทคโนโลยีได้เอง เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด สาระสำคัญอยู่ที่ว่า เราต้องมองให้ออกว่าโลกทุกวันนี้มีเทคโนโลยีอะไรที่เราสามารถหยิบมาใช้งานกับการผลิตของเราบ้าง และเรามีจุดเด่นอะไรที่สามารถต่อยอดให้ถึงขีดสุดได้บ้าง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจและสังคม

นอกจากนั้นแล้ว การนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานยังต้องรู้จักเลือกใช้ในงานที่สามารถต่อยอดและเป็นจุดเด่นของประเทศ สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมที่ถือเป็นจุดเด่นของเราคือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เราจึงควรผลักดันนำเอาระบบอัตโนมัติเข้าไปพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมนี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการผลิต ลำเลียงวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง เป็นต้น

“ออโตเมชั่น ไม่จำกัดอยู่เพียงในมิติของการผลิตเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ถูกนำไปใช้งานในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แม้แต่ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะประเทศไทย มีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ก็มีความจำเป็นต้องนำออโตเมชั่นมาใช้กับการผลิตของภาคอุตสาหกรรมการเกษตรให้มากขึ้น ประเทศเราควรนำเอาออโตเมชั่นมาใช้งานกับการเกษตรอย่างชาญฉลาด ให้ครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการปลูก การเก็บเกี่ยว การผลิต แปรรูป การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง เป็นต้น เรียกว่า เป็นการนำระบบออโตเมชั่นมาใช้ให้ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ” รศ.พิชิตกล่าว

หากเราไม่ใช้เทคโนโลยีออโตเมชั่นเข้ามาช่วยในการผลิต เราจะไม่สามารถขับเคลื่อนศักยภาพของประเทศ ไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าระดับโลกได้ เราต้องมองข้ามการผลิตสินค้าสำหรับบริโภคเฉพาะในระดับประเทศหรือระดับภูมิภาคแต่ต้องมองไปให้ไกลให้สินค้าเป็นสินค้าที่คนทั่วโลกต้องใช้ เราต้องเข้าใจว่าความสามารถและศักยภาพของเราว่าเหมาะสมกับด้านไหน เก่งด้านไหน และสามารถนำออโตเมชั่นมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร เป็นการดึงศักยภาพที่แท้จริงของประเทศไทยมาพัฒนาโดยใช้ออโตเมชั่นเป็นเครื่องมือ สรุปคือ ภาคอุตสาหกรรมไทยก็ต้องพึ่งพาออโตเมชั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และที่สำคัญคือเพื่อเป็นการลดปัญหาด้านต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

เสียงจากผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีออโตเมชั่น พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

หากจะว่ากันไปแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการนำระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่เราใช้กันอยู่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แม้กระนั้น ก็ยังมีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการพยายามนำระบบอัตโนมัติมาสู่การพัฒนาประเทศในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเราได้ไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติ 2 รายด้วยกัน โดยทั้ง 2 ท่าน ได้พูดถึงแนวโน้มในอนาคตของวงการออโตเมชั่น และบทบาทต่อการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ ดังนี้

คุณดุษฎีศักดิ์ สติวินัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นดี อิเลคทริค จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายระบบออโตเมชั่นด้านความปลอดภัย (Safety Automation) เป็นหลัก โดยผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าและจำหน่าย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ แบรนด์ PILZ ระบบควบคุมอัตโนมัติจากเยอรมนี เป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมความปลอดภัยระบบอัตโนมัติที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลก สามารถสั่งการและควบคุมการปฏิบัติงานของโรงงานได้ทั้งระบบนอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย มิใช่เพียงในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ระบบอัตโนมัติดังกล่าว ยังถูกนำไปใช้ในระบบของสนามบิน ระบบควบคุมไฟฟ้าในอาคาร ระบบเตือนเหตุไฟไหม้ การขนส่งระบบราง เป็นต้น

คุณดุษฎีศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับเทรนด์ในอนาคต ระบบความปลอดภัยจะถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องใส่ใจมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการเสรีอาเซียน แรงงานมีการถ่ายโอนและเคลื่อนย้ายมากขึ้น จะมีผลต่อความปลอดภัยและจำเป็นต้องพึ่งพาระบบอัตโนมัติที่มีความเสถียร มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

“เชื่อว่าผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมบ้านเรา อนาคตเราคงไม่เห็นภาพที่มีคนงานนั่งเรียงกันรับช่วงงานกันเป็นจำนวนมาก แต่จะใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทน” คุณดุษฎีศักดิ์ กล่าว

คุณศักดา สารพัดวิทยา ผู้จัดการ บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด บริษัทดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการวางระบบควบคุมอัตโนมัติปฏิบัติงานให้แก่อุตสาหกรรมระบบโครงสร้างพื้นฐานโครงการขนาดใหญ่ อาทิ สนามบิน รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีประสบการณ์ด้านงานระบบออโตเมชั่นมายาวนาน ทั้งประสบการณ์การทำงานทั้งในและต่างประเทศ มีแนวคิดในการใช้วิธีส่งผ่านองค์ความรู้จากระดับโลก มาสู่การพัฒนาระดับประเทศ และนำการพัฒนาระดับประเทศไปต่อยอดและเผยแพร่ยังต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง จากประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศ ทำให้เห็นขั้นตอนกระบวนการบริหารจัดการที่มีศักยภาพเหนือกว่าอุตสาหกรรมในบ้านเรา ทำให้ได้แนวคิดในการนำความรู้เรื่องไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติมาใช้กับอุตสาหกรรมบ้านเราให้มากขึ้น และวางตัวเองเป็นผู้ประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติกับอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานและระบบโรงงานอัตโนมัติ ปัจจุบัน บริษัทฯ มีขีดความสามารถในการส่งเสริมการทำงานของหน่วยงานใหญ่ๆ โดยมองตัวเองเป็นเหมือนแผนกออโตเมชั่นในบริษัทใหญ่ๆ นั้นๆ ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมการทำงานขององค์กรเหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความฉลาดของระบบที่บริษัทฯ มี บวกกับความเชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ ของทีมงาน อาทิ โรงงานไฟฟ้า ด้านการจัดการความปลอดภัย การจัดการด้านพลังงาน อาหาร โลจิสติกส์ เป็นต้น ทำให้สามารถผลักดันงานออโตเมชั่นไปสู่ภาคส่วนต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่าออโตเมชั่นในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ได้แทรกซึมเข้าไปอยู่ในหน่วยของอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ความพร้อมประเทศไทย ต่อการก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

สำหรับประเทศไทย ที่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องตื่นตัวกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งนี้ ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า รัฐบาลเองพยายามที่จะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตัลมากขึ้น รวมทั้งขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งเสริม E-Commerce, E-Document และ E-Learning ซึ่งล้วนเป็นการวางรากฐานการพัฒนาสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับคนไทยโดยการปรับเปลี่ยนและนำเอาเทคโนโลยีออโตเมชั่นมาใช้งานนั้น คงต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของอุตสาหกรรมในบ้านเรา และต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทยอีกด้วย

คุณดุษฎีศักดิ์ กล่าวว่า โรงงานผู้ผลิตคนไทยยังไม่นิยมใช้งานระบบอัตโนมัติมากนัก เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูงและฟุ่มเฟือยเกินไป ทั้งที่จริงแล้ว การลงทุนระบบอัตโนมัติมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ช่วยให้การตรวจสอบทำได้ง่ายและแม่นยำขึ้น มีความเสถียรมากขึ้น ใช้คนน้อยลง ก็จะสงผลให้ต้นทุนการผลิตลดน้อยลง ในขณะที่ประสิทธิภาพที่ได้สูงขึ้น

ด้านคุณศักดา ให้ความเห็นว่า สำหรับเมืองไทยอาจยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการปรับตัวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ธรรมชาติของอุตสาหกรรมในบ้านเราเป็นอุตสาหกรรมที่ยังต้องพึ่งพาฝีมือแรงงานอยู่ไม่น้อย การตัดสินใจใช้ระบบอัตโนมัติในการปฏิบัติงานแบบทั้งระบบอาจไม่เป็นผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเป็นการลงทุนที่เกินความจำเป็น ของบางอย่างไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบอัตโนมัติเสมอไป จึงควรนำปรับใช้เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติน่าจะดีกว่า เพราะบริบทของอุตสาหกรรมในบ้านเรายังต้องการการทำงานที่ใช้ฝีมือ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบออโตเมชั่นก็จะเหมาะกับบางระบบ เช่น ระบบที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ ที่คนไม่สามารถทำงานได้ จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก อาจใช้วิธีการบริหารจัดการรูปแบบอื่นๆ และใช้ออโตเมชั่นมาเสริม เรามีบุคลากรที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ควรที่จะนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับธรรมชาติของแต่ละองค์กรมากกว่า

“สำหรับภาคการผลิต มีการลงทุนด้านระบบออโตเมชั่นด้วยเป้าประสงค์หลายประการ อาทิ ลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ ลงทุนเพื่อลดรายจ่าย หากพิจารณาว่าการลงทุนนั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งสองประการข้างต้นได้ การลงทุนนั้นย่อมดีแน่นอน แต่อาจต้องวิเคราะห์เพิ่มว่า ระบบนั้นถ้านำมาใช้งานแล้วจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนหรือไม่หรือจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตพวกเขาเหล่านั้นมากกว่ากัน หากออโตเมชั่นสามรถมาทดแทนการทำงานของคน แล้วบริหารจัดการและพัฒนาให้คนๆ นั้นมีศักยภาพในการทำงานที่ดีขึ้น หรือพัฒนาไปสู่การทำงานในด้านอื่นที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับชีวิตเขา นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เมื่อคนมีการพัฒนา ก็ส่งผลให้องค์กรได้มีขีดความสามรถเพิ่มขึ้นเป็นผลพลอยได้” คุณศักดา กล่าวเสริม

“มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ควร” เป็นบทสรุปได้เป็นอย่างดีสำหรับอุตสาหกรรมบ้านเราหากจะต้องนำเอาระบบอัตโนมัติ หรือ ออโตเมชั่น มาใช้งาน สิ่งสำคัญอยู่ที่ “จุดตรงกลาง” กล่าวคือ จะต้องพิจารณาการใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติให้เหมาะสมกับบริบทของอุตสาหกรรมในประเทศ ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น แต่ต้องไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด