MFM-ENGINEERING | ประกอบกิจการทำเกี่ยวกับ ซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ กลไก ในเรือเดินสมุทร และโรงงานอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ

 อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญและมีส่วนเชื่อมโยงกับธุรกิจการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี ตลอดจนเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นอีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์เดินเรือ อุตสาหกรรมสีและเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เครื่องยนต์เรือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

         กรมเจ้าท่า ได้แบ่งประเภทเรือไทยตามลักษณะการใช้งานเป็น 23 ประเภท ได้แก่  เรือประมง เรือบรรทุกสินค้าตู้ เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป บรรทุกน้ำมัน บรรทุกแก๊ส เรือขุด/ดูดแร่ เรือดูดทราย เรือโดยสาร เรือลากจูง เรือสำราญและกีฬา เรือยอร์ช เรือตรวจการณ์/นำร่อง เรือขุด/รักษาร่องน้ำ เรือสำรวจ เรือดับเพลิง เรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น เรือบรรทุกแก๊ส-น้ำมัน เรือดัน-จูง เรือโดยสาร-สินค้า เรือลำเลียงแม่น้ำ เรือลำเลียงทะเล เรือโดยสาร-ประจำทาง เรือตอกเสาเข็ม/ปั้นจั่น และเรืออื่นๆ ดังตารางที่ 1  

ความสำคัญของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ

        ประเทศไทยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก โดยร้อยละ 90 ของปริมาณการค้าระหว่างประเทศอาศัยการขนส่งทางน้ำ  เนื่องจากสามารถบรรทุกสินค้าได้ในปริมาณมาก และมีต้นทุนการขนส่งที่ราคาถูกกว่าการขนส่งด้านอื่น ๆ ดังนั้น อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือจึงเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยสนับสนุนกิจการเดินเรือขนส่งและกิจการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกยอมรับว่าอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการป้องกันประเทศ (Defense Related Industry) เพราะจะให้การสนับสนุนประเทศด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจในยามสงคราม

        อุตสาหกรรมที่สนับสนุนและเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ประกอบด้วยอุตสาหกรรมที่่เกี่ยวเนื่องทั้งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อต้นทุนและคุณภาพในการผลิต การสนับสนุนการส่งเสริมและทิศทางของตลาดอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ

อุตสาหกรรมต้นน้ำ

        อุตสาหกรรมต้นน้ำเป็นอุตสาหกรรมที่ป้อนวัตถุดิบมี่ใช้ในการต่อเรือและซ่อมเรือ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก สี/เคมีภัณฑ์ การหล่อโลหะ  เครื่องจักร  อุปกรณ์เดินเรือ  และเครื่องมือสื่อสาร อุตสาหกรรมต้นน้ำเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดต้นทุนและคุณภาพของการต่อเรือและซ่อมเรือ อู่ต่อเรือและซ่อมเรือของไทยมีขนาดเล็ก ทำให้ผู้ผลิตภายในประเทศไม่สามารถผลิตให้เนื่องจากไม่คุ้มทนจึงจำเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ยกเว้นอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคที่ค่อนข้างจะเป็นอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งและช่างไทยมีฝีมือด้านทำเฟอร์นิเจอร์อยู่บ้าง

อุตสาหกรรมกลางน้ำ

        อุตสาหกรรมกลางน้ำมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนในด้านเงินทุนและทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา ปัจจุบัน สถาบันการเงินให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือน้อยมาก เพราะขาดความเข้าใจในอุตสาหกรรมและมักมองว่าเป็นกิจการที่ความเสี่ยงสูงและคืนทุนยาก  อีกทั้งยังขาดบุคคลกรที่มีความชำนาญในทุกๆระดับของอุตสาหกรรม จากการขาดผู้สอนและผู้สนใจในอุตสาหกรรม จากทัศนคติการต่อเรือและซ่อมเรือเป็นงานที่หนักและได้รับค่าตอบแทนไม่คุ้มค่า

อุตสาหกรรมปลายน้ำ

        อุตสาหกรรมปลายน้ำเป็นอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนในการกำหนดทิศทางตลาด ได้แก่ การขนส่งทางทะเล การประมง การท่องเที่ยวทางน้ำ และการต่อเรือของหน่วยงานราชการ อุตสาหกรรมดังกล่าวถือเป็นผู้ใช้เรือและลูกค้าของอู่ต่อเรือ การเปลี่ยนแปลงในกลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้นย่อมมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือด้วยเช่นกัน

ลักษณะงานในอุตสาหกรรมต่อเรือ

        งานในอุตสาหกรรมต่อเรือ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ งานต่อเรือใหม่และงานซ่อมเรือเก่า

       1. งานต่อเรือใหม่ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ได้แก่ การออกแบบและการคำนวณ การทดลองเรือจำลองในถังน้ำ การทดสอบจากโมเดลของเรือที่ได้จากสถาบันออกแบบที่เชื่อถือได้ การออกแบบโครงสร้างของเรือ การออกแบบส่วนประกอบของเรือ เพลาใบจักรเครื่องจักรและกลจักรเรือต่าง ๆ การออกแบบระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนระบบสื่อสาร ดาวเทียม และอื่น ๆ ตามความต้องการและวัตถุประสงค์การใช้งาน เมื่อทำการออกแบบและคำนวณพร้อมทั้งทดลองลากเรือในถังน้ำทดสอบจนได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว จึงนำแบบดังกล่าวมาทำการออกแบบเพื่อการผลิตหรือต่อเรือต่อไป อู่เรือที่ไม่มีขีดความสามารถในการออกแบบและคำนวณ สามารถซื้อแบบจากบริษัทผู้ออกแบบอื่นหรืออู่เรืออื่นมาขยายหรือปรับปรุงแบบให้ตรงตามความต้องการของตน และต้องเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยทางทะเล(International Convention for Safety of Life at Sea, SOLAS)

        2.งานซ่อมเรือ ส่วนใหญ่จะเป็นงานซ่อมเครื่องจักร กลจักรเรือ ตัวเรือ และระบบต่าง ๆ ภายในเรือ งานซ่อมเรือมักจะติดต่อประสานงานกันล่วงหน้า (ยกเว้นกรณีซ่อมฉุกเฉิน) เพื่อกำหนดวันและเวลาที่นำเรือมาซ่อม รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ เพื่อให้อู่เรือสามารถสั่งวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซ่อมเรือมาเตรียมพร้อมไว้ โดยปกติจะซ่อมบำรุงเรือหลังจากการตรวจสภาพเรือ ซึ่งทำเป็นประจำทุกๆ 2 – 3 ปี ตามหลักสากลหรือเมื่อทราบว่าเรือได้รับความเสียหาย หรือใช้งานต่อไปอาจจะไม่ปลอดภัย

ที่ตั้งและส่วนประกอบที่สำคัญของอู่เรือ

        โดยทั่วไปอู่เรือมักจะตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำหรือบริเวณชายฝั่งทะเล และมีช่องทางเข้าถึงได้โดยทางเรือและทางบก เพื่อให้สะดวกต่อการขนส่งพัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ ในการต่อและซ่อมเรือ มีท่าเทียบเรือที่มีน้ำลึกพอสำหรับขนาดของเรือที่ต้องการต่อหรือเข้ารับการซ่อม เพื่อให้สามารถเทียบเรือได้โดยสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำเรือลงน้ำหรือขึ้นมาบนบก มีพื้นที่ปฏิบัติงานสำหรับต่อเรือหรือซ่อมเรือ และสำนักงานตามขนาดของกิจการ

        สิ่งอำนวยความสะดวกในการต่อเรือที่จำเป็นได้แก่

  1. ท่าเทียบเรือพร้อมปั้นจั่นหรือเครน
  2. อู่แห้ง หรือคานเรือ หรืออู่ลอย หรือระบบชานยกเรือขึ้นลงจากน้ำพร้อมชานเลื่อนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า
  3. โรงงานเครื่องกลเพื่อการซ่อม การประกอบ การทดลอง และการติดตั้งเครื่องจักรกลต่าง ๆ
  4. โรงงานเพื่องานแผ่นเหล็กตัวเรือ
  5. โรงงานท่อและอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ของเครื่องจักรกล
  6. โรงงานอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้า
  7. โรงงานอิเล็กทรอนิกส์
  8. โรงงานเบ็ดเตล็ดสำหรับรับงานปลีกย่อยอื่น ๆ เช่น การขยายแบบด้วยมือ การทาสีการบุผ้า การทำเฟอร์นิเจอร์
  9. สำนักงานสำหรับฝ่ายออกแบบ เขียนแบบและควบคุมงาน
  10. สำนักงานสำหรับฝ่ายบริหารและงานธุรการอื่น ๆ เช่นเดียวกับโรงงานทั่ว ๆ ไป
  11. คลังเก็บพัสดุเพื่อการต่อเรือและการซ่อมเรือ
  12. สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น รถยก รถขน ถนนภายในอู่

อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทยในปัจจุบัน

         ในปี 2549 มีจำนวนผู้ประกอบกิจการอู่ต่อเรือ ซ่อมเรือ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องในประเทศไทยทั้งสิ้น 306 ราย กระจายอยู่ตามลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง ตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน และช่องแคบมะละกา โดยสามารถแบ่งขีดความสามารถในการต่อเรือของอู่ต่อเรือไทยได้เป็น 3 กลุ่ม คือ อู่เรือขนาดเล็ก อู่เรือขนาดกลาง และอู่เรือขนาดใหญ่

          1. อู่เรือขนาดเล็ก มีขีดความสามารถในการต่อเรือและซ่อมเรือขนาดเล็กกว่า 500 ตันกรอส อู่เรือกลุ่มนี้ให้บริการต่อและซ่อมเรือไม้ เช่น เรือประมง

          2. อู่เรือขนาดกลาง มีขีดความสามารถในการต่อเรือและซ่อมเรือ   ขนาดตั้งแต่ 500 – 4,000 ตันกรอส เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการต่อและซ่อมเรือเหล็ก  เรืออลูมิเนียม และเรือไฟเบอร์กลาส ส่วนมากจะตั้งอยู่ใน เขตกรุงเทพและปริมณฑล

          3. อู่เรือขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถในการต่อเรือและซ่อมเรือตั้งแต่ 4,000 ตันกรอส ขึ้นไป กลุ่มนี้มีที่ตั้งอยู่ทั้งในเขตกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และชลบุรี เป็นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและสามารถประกอบกิจการด้านอื่นที่ไม่ใช่ต่อเรือและซ่อมเรือเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีเครื่องจักรและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่พร้อมอยู่แล้ว เช่น งานด้านโครงสร้างเหล็ก สะพาน แท่นขุดเจาะและอื่น ๆ

         เรือที่ต่อโดยอู่เรือไทย สามารถแบ่งลักษณะออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1. เรือเฉพาะกิจ เช่น เรือดันและเรือลากจูง เรือขุด เรือตรวจการณ์ เรือสำรวจ เรือวางทุ่น

    และเรือบริการแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล

2. เรือขนาดเล็กที่ใช้ขนส่งทางน้ำภายในประเทศและการขนส่งชายฝั่ง เช่น เรือไลเตอร์ เรือลำเลียง

    และเรือบรรทุกสินค้าเทกอง

3. เรือโดยสารขนาดเล็กและเรือสำราญ

4. เรือประมง ส่วนใหญ่เป็นเรือประมงชายฝั่ง

มูลค่าของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ

          ผู้ประกอบการอู่ต่อเรือและอู่ซ่อมบำรุงเรือได้มีการจดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใต้ข้อกำหนดของตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งใน พ.ศ. 2560 ได้มีผู้ประกอบการอู่ต่อเรือและอู่ซ่อมบำรุงเรือจำนวน 232 อู่ ซึ่ง 189 อู่ ได้จดทะเบียนนิติบุคคลภายใต้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จากการสอบทานบัญชีของผู้ประกอบการภายใต้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2557 – 2559 มีผู้ประกอบให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีรายได้รวมของธุรกิจจำนวน 89, 92 และ 81 ราย ตามลำดับ ซึ่งรายได้รวมใน พ.ศ. 2559 ลดลงเหลือประมาณ 12,197 ล้านบาท จาก 16,870 ล้านบาทใน พ.ศ. 2557 (รูปที่ 1) ทั้งนี้การลดลงของรายได้รวมนั้นอาจเกิดจากการจำนวนการให้ข้อมูลของผู้ประกอบที่ลดลงใน พ.ศ. 2559 หรืออาจเป็นเพราะธุรกิจดังกล่าวยังไม่ได้รับการสนับสนุนและมีช่องทางในการลงทุนอย่างชัดเจน

รูปที่ 1 รายได้รวมของธุรกิจอู่ต่อเรือและอู่ซ่อมบำรุงเรือที่ผู้ประการให้ข้อมูล พ.ศ. 2557 – 2559

(ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2560)

สถิติอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ปี 2546-2549

แนวโน้มของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทย

         อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้เรือในการขนส่งทางน้ำ การประมง และการท่องเที่ยวทางน้ำ ในปัจจุบันอู่เรือไทยมีขีดความสามารถในการซ่อมเรือได้ถึงขนาด 140,000 ตันกรอส (อู่เรือยูนิไทย) และได้เปรียบในเรื่องราคาซ่อมและคุณภาพ แต่ควรปรับปรุงเรื่องเวลา เพราะอู่เรือต่างประเทศทำได้ดีกว่า ตลาดต่อเรือสินค้าหรือเรือพาณิชย์ ถือเป็นตลาดต่อเรือที่มีศักยภาพสูง เพราะเป็นกองเรือที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการค้าทางทะเลโดยตรง

         ตลาดเรือพาณิชย์ จากการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลของภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลให้กองเรือพาณิชย์เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดเรือสินค้าที่มีศักยภาพของอู่เรือไทย คือ เรือสินค้าที่มีขนาดไม่เกิน 20,000 เดดเวทตัน เพราะเป็นเรือที่มีขนาดใกล้เคียงกับขีดความสามารถของอู่ต่อเรือไทย และเหมาะสมกับทำเลและการรองรับการต่อเรือของประเทศไทย

         ตลาดเรือประมง กองเรือประมงไทยโดยรวมมีอัตราขยายตัวต่ำมาก เนื่องจากการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและมหาสมุทรอินเดีย ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นกระทบต้นทุนการประมง การออกมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรือประมงและการทำประมงเพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำของกรมประมง ทำให้เรือประมงไทยซึ่งทำประมงชายฝั่งต้องงดทำการประมงไป แต่การซ่อมเรือประมงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะดัดแปลงเรือประมงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำ หรือดัดแปลงเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่นรองรับการท่องเที่ยวทางน้ำ ส่วนเรือประมงต่างชาติมักจะไม่มาซ่อมเรือในประเทศไทย

         เรือเฉพาะทาง ตลาดต่อเรือเฉพาะทางของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของเรือประเภทนี้ในตลาดโลก โดยขนาดเรือเฉพาะทางในตลาดโลกที่ต้องการมากที่สุดคือ ขนาดต่ำกว่า 1,000 ตันกรอส (ยกเว้นเรือ Ferries) ซึ่งอู่ต่อเรือเฉพาะทางของไทยสามารถต่อเรือได้ในขนาดใกล้เคียงกัน ถือเป็นโอกาสดีที่อู่เรือไทยจะได้พัฒนาฝีมือในตลาดโลก

         อุตสาหกรรมต่อเรือ นอกจากจะเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงและคืนกำไรยากแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมากหลายระดับ รวมทั้งต้องอาศัยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมชั้นสูงจากหลายสาขา จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และครบวงจร ดังเช่นที่นานาประเทศที่อุตสาหกรรมต่อเรือเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมั่นคงได้ให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเรือของตนเอง

ตีโจทย์ปัญหากระบวนการผลิตด้วย CAUSE AND EFFECT DIAGRAM

การวางแผนเพื่อเพิ่มผลิตภาพนั้น จำเป็นต้องระบุปัญหาให้มีความถูกต้องและตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น เครื่องมือที่มีความถูกต้องแม่นยำนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ การสร้างแผนผังแสดงเหตุและผล ซึ่งมีลักษณะคล้ายก้างปลาที่มีผลลัพธ์หรือปัญหาเป็นหัวและสาเหตุของปัญหาเป็นก้างปลาแยกย่อยเป็นองค์ประกอบของภาพรวม สามารถตอบโจทย์การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจนและครอบคลุม

ตีโจทย์ปัญหากระบวนการผลิตด้วย CAUSE AND EFFECT DIAGRAM

Cause and Effect Diagram

ผังแสดงเหตุและผล คือ ผังที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของปัญหา (ผล) กับปัจจัยต่างๆ (สาเหตุ) ที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็นผลลัพธ์ (ปัญหา) สาเหตุหลักหรือกลุ่มของปัญหาปัจจัยรอง และปัจจัยย่อย

การใช้งาน

  • ระบุปัญหาอย่างถูกต้องและแม่นยำ ตัดสาเหตุที่ไม่จำเป็นออก
  • กระจายปัญหาให้เห็นถึงองค์ประกอบที่ชัดเจน
  • ช่วยในการกระตุ้นแนวคิดและการระดมความคิดสำหรับแก้ปัญหา
  • ระบุความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ (โดยทั่วไปมักถูกนำเสนอแต่อยู่ในสภาวะแอบซ่อนแฝง)
  • ช่วยสนับสนุนในการเลือกตัดสินใจ
โครงสร้างตัวอย่างผังก้างปลา C&E
PIC.1 โครงสร้างตัวอย่างผังก้างปลา C&E

ขั้นตอนการสร้างผัง

  1. กำหนดปัญหาหรือสิ่งที่ต้องแก้ไข (หัวข้อ) อย่างชัดเจน
  2. เขียนปัญหาในช่อง Effect แล้วลากลูกศรไปที่ผลลัพธ์
  3. ระบุสาเหตุและความเป็นไปได้ของปัญหา หากคิดไม่ออกให้ยึดหลักพิจารณาจาก 4 M คือ Man Machine Material และ Method โดยใส่ไว้ในช่องใดก็ได้ เน้นไปที่คำถาม ทำไมจึงเกิดขึ้น
  4. ระบุสาเหตุหลักที่คาดว่าจะเป็นไปได้และลากลงมายังเส้นหลักที่ชี้มุ่งไปยังผลลัพธ์ (เส้นกลาง)
  5. ระบุสาเหตุรอง โดยลากเส้นต่อจากเส้นสาเหตุหลักโดยระบุปัญหาไว้ที่ปลายเส้น
  6. ระบุสาเหตุย่อย โดยลากเส้นต่อจากเส้นสาเหตุรอง

ตัวอย่างการวิเคราะห์ผัง

ตัวอย่างการวิเคราะห์ผัง
PIC.2 ตัวอย่างการวิเคราะห์ผัง

วัตถุดิบ

  1. อ้อยไฟไหม้
  2. ก้อนหินปนมากับอ้อย
  3. โลหะปนมากับอ้อย
  4. ทรายปนมากับอ้อย
  5. ใบอ้อยปนมาจำนวนมาก

วิธีการทำงาน

  1. ไม่มีการกำหนดมาตรฐานค่าความเร็วของสะพานเมน
  2. จังหวะของการลงอ้อยไม่เหมาะสมเนื่องจากใบอ้อยปนจำนวนมาก
  3. เรียงอ้อยไม่ดี
  4. กำหนดช่วงเวลาทำ PM ไม่เหมาะสม

เครื่องจักร

  1. มีคานขวางสะพาน
  2. กำลังขับมอเตอร์ชุดเกลี่ยอ้อยไม่เพียงพอ
  3. สตีมตกทำให้ใบมีดหมด

บุคลากร

  1. หัวหน้างานดูแลไม่ทั่วถึง
  2. ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน PM

การแก้ไขปัญหาจากผัง

  1. ตัดสาเหตุที่ไม่จำเป็นออก
  2. ลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน
  3. หากไม่สามารถระบุสาเหตุและยืนยันได้จำเป็นต้องเก็บข้อมูลอีกครั้งจนข้อมูลกระจ่างชัด
  4. หารูปแบบวิธีการแก้ไข
  5. กำหนดรูปแบบวิธีการแก้ไข กำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดการแก้ไข
  6. ติดตามผลการแก้ไขและจำเป็นต้องระบุเป็นค่าตัวเลขเพื่อให้สามารถประเมินผลได้อย่างชัดเจน

จากรูปที่ 2 ซึ่งเป็นตัวอย่างการใช้งานผัง C&E จะเห็นได้ว่ามีการจัดหมวดหมู่ของปัญหาจากการวิเคราะห์เพื่อสร้างการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งได้เบื้องต้น ดังนี้

การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นจะต้องเก็บรวบรวมรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อสร้างตัวเลือกหรือวิธีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น แผนผัง ก้างปลาหรือ C&E Diagram จะสามารถตอบสนองต่อโจทย์ หรือปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยขยายปัญหาให้ปรากฏชัดขึ้น โดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการพิจารณาปัญหาว่าตรงเป้าหมายหรือไม่ จากนั้นจึงทำการขยายความเพื่อระบุ ปัจจัยหลัก ปัจจัยรอง และปัจจัยย่อย เพื่อพิจารณาวิธีการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมขึ้นมา

EXECUTIVE SUMMARY

To identify the problem for resolve or preventive operation, overall knowledge and understanding for related factors must be provided. Cause and Effect Diagram method or Fish Bone Diagram could use to identify the problem entirely which will expand the cause to see clearly. This method is helpful for gathering the information before taking a proper action. The key for this operation is to make sure that focus on the true problem clearly and then identify the related factors. After identified factors, specify the major cause, subordinate cause and minor cause as follow. The major cause should be considerate from 4 M’s which are Man, Machine, Material and Method then prioritize and assign work to operator as the next step. To evaluate, the result must show with numeric value to make it clearly

การบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วม : TPM

ความหมาย และประโยชน์

ระบบ TPM แบบดั้งเดิมของอเมริกาให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรถึงแม้ว่าจะมุ่งที่จะไปให้ถึงขีดจำกัดสูงสุดของประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยการปรับปรุงวิธีการสร้างเครื่องจักร การบำรุงรักษาเครื่องจักร แต่ก็ไม่ได้มุ่งไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดของระบบการผลิตโดยก้าวไปถึง วิธีการใช้เครื่องจักร ลักษณะพิเศษของ TPM   คือการบำรุงรักษาด้วยตนเองของพนักงาน   ควบคุมดูแลเครื่องจักรดูแลรักษาร่างกายของมนุษย์ด้วยเพื่อที่จะสามารถรักษาสุขภาพให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ นอกจากนั้นยังต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการตรวจเช็คตามเวลาที่กำหนด แล้วทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาสำหรับแนวคิดในเรื่องของการควบคุมเครื่องจักรของญี่ปุ่นนั้นผ่านมาจากยุคของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันไปสู่การบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มผลผลิตแล้วก็ได้พัฒนาไปสู่ยุคของTPM ในปัจจุบันความหมายของ TPM ในส่วนการผลิต1. TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาที่จะทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Overall Efficiency)
                2. TPM   คือ การประยุกต์ใช้ PM เพื่อให้สามารถใช้เครื่องจักรได้ตลอดอายุการใช้งาน 3. TPM  คือ ระบบการบำรุงรักษาของทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเครื่องจักรอุปกรณ์  ได้แก่ ผู้วางแผนการผลิต ผู้ใช้เครื่อง และฝ่ายซ่อมบำรุง
                4. TPM  คือ ระบบการบำรุงรักษาที่อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงผู้ใช้เครื่องความหมายของ TPM ทั่วทั้งองค์การ                1. TPM   คือ ระบบการบำรุงรักษาที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของทุกฝ่าย  โดยมีความมุ่งมั่นว่าประสิทธิภาพ โดยรวมของระบบการผลิตต้องสูงสุด                2. TPM  คือ การทำให้เกิดระบบป้องกันเพื่อไม่ให้มีความสูญเสีย(Losses)กิดขึ้นกับเครื่อง จักรและ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งทั้งนี้ต้องทำให้เกิด”อุบัติเหตุเป็นศูนย์” “ของเสียเป็นศูนย์” และ “เครื่องเสียเป็นศูนย์                3. TPM  คือ  การให้ฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนา ฝ่ายบริหาร ฝ่ายขาย มาร่วมกันในการพัฒนาประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการผลิต                4. TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาที่อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึง ผู้ใช้เครื่องสรุปความหมายของ  TPMTPM หรือการบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม (Total Productive Maintenance) หมายถึง ระบบการบำรุงรักษาที่ครอบคลุมตลอดช่วงอายุอุปกรณ์ นับตั้งแต่การวางแผน การผลิต การบำรุงรักษา และอื่น ๆ โดยอาศัยความร่วมมือจากพนักงานทุกคน ตั้งแต่ฝ่ายบริหารระดับสูงจนถึงพนักงานหน้างาน และการส่งเสริมการบำรุงรักษาเชิงทวีผล โดยผ่านการจัดการแบบสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนถึงการดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยที่จะทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์มีค่าสูงสุดกิจกรรมกลุ่มย่อยคือ หัวใจของการส่งเสริมให้เกิด TPM เราอาจนิยาม TPM ในรูปแบบง่าย ๆ คือ การทำให้ความสามารถของโรงงานได้รับการนำมาใช้สูงสุดด้วยการ1.ลดการหยุดของอุปกรณ์ ทั้งกรณีหยุดสายการผลิตและการหยุดเพื่อซ่อมแซมงาน2.เพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ทั้งในแง่ปริมาณ คือ ผลิตให้มากขึ้น และแง่คุณภาพคือ การผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าพอใจ และ3.การปรับปรุงองค์ประกอบด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้คุณภาพดีขึ้นและมีผลกำไรสูงขึ้นวัตถุประสงค์ของ TPM 
จุดประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการผลิตไปสู่ขีดจำกัดสูงสุด แม้ว่าระบบการผลิตส่วนมากจะเป็นระบบ Man – Machine  ซึ่งรวมถึงระบบอัตโนมัติที่กำลังพัฒนาควบคู่ไปกับระบบการผลิตด้วยแต่ก็ไม่ อาจกล่าวได้ว่า วิธีการสร้างเครื่องจักร การใช้เครื่องจักร การบำรุงรักษาดูแลเครื่องจักรนั้นมีผลต่อของดีของเสียโดยตรงเลยทีเดียวแต่ว่า TPM นั้นมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตโดยรวมไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดโดยการปรับปรุง วิธีการสร้างเครื่องจักรวิธีการใช้เครื่องจักร และวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยการขจัดความสูญเปล่า (Loss) เนื่องจากการเปลี่ยนรุ่น หรือเครื่องจักรเสีย , โดยการขจัดการสูญเสียความรวดเร็วอันเนื่องมาจาก การหยุดเล็กๆ น้อย ๆความเร็วที่ลดลงโดยการขจัดของเสียจากกระบวนการ ขจัดเวลา Start up ขจัดความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือการขจัดความสูญเสียอันเนื่องมาจากของเสียนั่นเอง

ขั้นตอนกระบวนการTPM

ในการเริ่มต้นกิจกรรม TPM ควรจะมีการกำหนดแผนกิจกรรมหลัก (Master Plan) ขึ้นมา เพราะ TPM ประกอบด้วยกิจกรรมหลายส่วน ต้องเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมค่อนข้างนาน คือ 6เดือน ถึง 1 ปี ในช่วงแรก สำหรับการกำหนดรายละเอียดของ Master Plan ว่าจะต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง หรือว่าควรจะเริ่มต้นจากกิจกรรมอะไรก่อน –หลังนั้น ใน TPM ไม่ได้มีการกำหนดลำดับการดำเนินกิจกรรมไว้เป็นพิเศษ แต่ละโรงงานย่อมมีแผนงานที่แตกต่างกันได้ แต่มีข้อแนะนำว่าให้เริ่มจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันขององค์กรเช่น ระดับความสามารถของการซ่อมบำรุง สภาพปัญหาที่สำคัญในระบบการผลิต ความสำเร็จของกิจกรรมการปรับปรุงที่กำลังทำอยู่หรือเคยทำมาก่อน ความพร้อมของฝ่ายต่างๆ รวมถึงนโยบายของผู้บริหาร เพื่อนำมาประกอบในการจัดทำแผนงานที่มีความเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาขององค์กรได้อย่างตรงจุดที่สุดลักการ

กิจกรรม 8 เสาหลักของ TPM

1. การจัดการความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Safety Health and Work Place Hygiene Management) ความปลอดภัยเป็นกิจกรรม ที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะหากมีการทำงาน ที่มีอันตรายมาก จะมีผล ต่อกำดำเนินกิจกรรมอื่นตามมา ลองคิดดูว่า จะเป็นอย่างไร หากเริ่มทำกิจกรรมแล้ว เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับพนักงาน พนักงานท่านอื่นๆจะคิดอย่างไร คงไม่ได้คิดในแง่ดีอย่างแน่นนอน2.การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) เป็นกิจกรรมหลัก ที่เป็นเอกลักษณ์ของ TPM หลักการของการบำรุงรักษา หากมองผิวเผิน อาจมองว่าเป็นเพียง การเปลี่ยนพนักงานเดินเครื่อง ให้เป็นผู้ที่สามารถ ตรวจสอบเครื่องจักรได้ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่เท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ การเป็นเจ้าของ จากที่เครื่องจักรของโรงงาน เป็นเครื่องจักรของฉัน เครื่องจักรนี้เป็นเครื่องจักร ที่ต้องไม่มีความเสื่อมสภาพ เป็นเครื่องจักรที่ไม่ผลิตของเสีย เป็นเครื่องจักรที่ไม่เสีย นั้นคือหัวใจของการบำรุงรักษาด้วยตนเองการทำการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
3.การวางแผนการบำรุงรักษา (Planned Maintenance) ต้องทำการวางแผนการบำรุงรักษาให้กับ เครื่องจักรเพื่อให้เครื่องจักรไม่เสีย ต้องทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำที่สุด
4.การให้การศึกษา และฝึกอบรม (Training and Education) ถ้าต้องการเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง เราสามารถที่จะหาซื้อ เข้ามาติดตั้งก็ใช้งานได้ หากต้องการระบบการควบคุมการผลิตที่ดี ก็สามารถหาได้จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยในการบริหารจัดการได้ แต่เราไม่สามารถรักษาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ได้ หากเราไม่มีคนที่มีความสามารถ ดังนั้นเราจึงต้องทำการพัฒนาคน ให้มีความสามารถ และรักในการปรับปรุงงานอยู่ตลอดเวลาหัวใจของการพัฒนาคน คือการให้ความรู้ การให้ความรู้ ต้องเป็นการให้ความรู้ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องใช้ความรู้นั้นๆ
5.การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Focus Improvement, Kobetsu Kaizen)กิจกรรมที่มีหน้าที่เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้ง 16 ประการให้เป็น ศูนย์ โดยการใช้เครื่องมือต่างๆ ไปทำการวิเคราะห์หาทางแก้ไข และป้องกันการกลับมาของปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในกิจกรรมนี้คือ 5W+1H, การวิเคราะห์ Why-Why, QC 7 Tools, การวิเคราะห์ P-M, QCC เป็นต้น การเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของปัญหา เหมือนกับการรับยาให้ตรงกับโรคนั่นเอง ดังนั้นเราต้องรู้จัก กับชนิดของความสูญเสีย ก่อน
6.การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance) การบำรุงรักษาคุณภาพ คำนี้อาจเป็นคำใหม่ เราจะได้ยินคำว่า การบำรุงรักษา คือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร แยกจากคำว่าคุณภาพ ซึ่งหมายถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ ให้ได้ตามข้อกำหนด แต่การนำสองคำนี้มารวมกัน หมายความว่าอย่างไรเราต้องทำความเข้าใจ กับแนวคิดที่ว่า การที่จะไม่ให้ของเสีย ถูกส่งไปให้ลูกค้า เราต้องไม่ผลิตของเสีย การที่เราผลิตของเสียออกมานั้น เกิดจากการที่เครื่องจักรของเรา มีความผิดปรกติบางอย่าง ที่ทำให้เครื่องจักรนั้น เมื่อทำงาน มันไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เครื่องจักรผลิตของเสียออกมา ต่อมาในการที่เครื่องจักรของเรา มีความสมบูรณ์แล้วนั้น เราก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า เราต้องทำการปรับแต่งเครื่องจักรอย่างไร เพื่อให้เครื่องจักรเดินได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นหากเราต้องการที่จะไม่ผลิตของเสียนั้น เราต้องทำให้เครื่องจักรของเรา ไม่มีสิ่งผิดปรกติ และต้องทำการควบคุมค่า ในการปรับแต่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพให้ได้ เพื่อที่จะไม่ผลิตของเสียออกมา หากเราต้องทำเช่นนี้เราได้ เราต้องเริ่มจากการหาความสัมพันธ์ของชิ้นส่วน หรือค่าปรับตั้งต่างๆ กับปัญหาคุณภาพก่อน หรือที่เราเรียกว่า QA Matrix (เป็นเมตริกที่ใช้ในการบ่งบอกความสัมพันธ์ ของชิ้นส่วนของเครื่องจักร และค่าที่ต้องปรับตั้งกับคุณภาพ) หลังจากนั้นก็ต้องทำให้ชิ้นส่วนเครื่องจักร อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และกำหนดค่าปรับตั้งต่างๆ ให้ได้ หลังจากนั้นก็ทำการศึกษา ว่าคุณภาพที่ออกมานั้น มีความแน่นอนในการผลิตอย่างไร หรือที่เราเรียกว่าเราต้องหาค่าCp/Cpk ของเครื่องจักรของเราให้ๆ ได้โดยเทียบกับค่าสเปคต่างๆของเรา กิจกรรมนี้เราจะดำเนินการได้ หลังจากที่ทำกิจกรรม AM และ PM จนกว่าจะไม่ ที่ความเสื่อมสภาพแล้ว และพนักงาน ต้องมีความสามารถ ในการคิดอย่างเป็นระบบ หรือทำกิจกรรมการปรับปรุง อย่างต่อเนื่องมาแล้งพอสมควร นั่นคือกิจกรรมนี้จะทำหลังจาก AM ผ่าน PM ไปได้ 3 ขั้นตอนแล้วแต่เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่มาก แต่เกิดเป็นประจำ
7.การควบคุมเสียแต่เริ่มต้น (Initial Control) สำนวนที่ว่า “ทำให้ถูกเสียแต่ที่แรก” คงตรงกับกิจกรรมมากที่สุด หัวใจสำคัญของกิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรม ที่จะทำให้เรารู้จักการดำเนินการ เพื่อป้องกันปัญหาเดิม ที่เราพบอยู่ให้หายไป หรือลดลงไปให้ได้ตั้งแต่ตอนที่เริ่มต้นกิจกรรมนี้
8.การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานสายสำนักงาน (Efficiencies Administration)การดำเนินการต่างๆ ส่วนใหญ่ จะเป็นการดำเนินการ ในส่วนของโรงงานเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ว่าการดำเนินการนั้น จะไม่ให้ความสนใจ ในส่วนของสายสำนักงาน อันที่จริงแล้วสายสำนักงาน ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะส่วนสำนักงานนั้น ก็เป็นส่วนสนับสนุน ในส่วนของสายสำนักงาน ก็จะดำเนินกิจกรรม 5 ส เพื่อให้การเกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ของสายสำนักงานให้ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดหน้าที่ ในการทำงานอย่างชัดเจน ของแต่ละคนและแต่ละคน มีเอกสารใดบ้างที่ต้องรับผิดชอบ และดำเนินการจัดการอย่างไร

ภาพที่ 1   แสดงกิจกรรม 8 เสาหลักของ TPM

ประโยชน์ของTPM

1.การเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน

                -การฝึกอบรมการใช้และดูแลรักษา เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ทำให้พนักงานมีทักษะการใช้และการดูแลรักษาและยังทำให้พนักงานเห็นความสำคัญ ของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำนักงานมีส่วนเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานของตน เองได้

                – การฝึกอบรมพนักงานซ่อมบำรุง ทำให้พนักงานซ่อมบำรุงมีความสามารถดูแล และรักษาเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำนักงานอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิภาพการซ่อมบำรุง

                – การวางแผนการบำรุงรักษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใช้ พนักงานซ่อมบำรุง และหัวหน้าหน่วยงาน ทำให้เกิดความเข้าใจ ความสัมพันธ์ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการซ่อมบำรุง2.การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี
                – ลดการสูญเสียวัตถุดิบจากการ Start up เพราะความไม่แน่นอนของเครื่องจักรเมื่อเปิดเครื่องครั้งแรก มักต้องเสียวัตถุดิบชิ้นแรกที่ป้อนเข้าไป                – ลดการสูญเสียผลผลิตที่มักเกิดจากการขัดข้องของเครื่องจักรในระหว่างการทำงาน                – ลดการเสียเวลาที่เกิดจากการซ่อมแซม เพราะต้องหยุดเครื่องเพื่อซ่อมหรือปรับแต่งเครื่องใหม่                

– ลดปัญหาการผลิตต่ำกว่าเป้าหมายที่มีผลมาจากเครื่องจักร มีอัตราเร่งที่ต่ำกว่ามาตรฐานสภาพการดำเนินงานที่เหมาะสมสภาพการดำเนินงานที่เหมาะสมเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินงาน และการบำรุงรักษาจากความสามารถของอุปกรณ์หรือคุณลักษณะที่จะประสบความสำเร็จระดับโลก การบำรุงรักษาในลักษณะว่ามีเครื่องมือที่สามารถเชื่อถือได้สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมของเวลาการทำงานของอุปกรณ์ที่จำเป็นมีเงื่อนไขเหล่านั้น ที่สำหรับเป็นความต้องการขั้นต่ำมีการทำงานที่พึงประสงค์เป็นเงื่อนไขที่เกินระดับมาตรฐาน The optimal conditions should be known to discover the faulty conditions where improvements are needed.สภาวะที่เหมาะสมควรเป็นที่รู้จักกันเพื่อค้นพบเงื่อนไขที่ผิดพลาดของการปรับปรุงมีความจำเป็น The basic conditions are shown in manuals, drawings and technical information, sometimes in parts lists, assembly instructions and installation manuals.เงื่อนไขขั้นพื้นฐานที่แสดงในคู่มือการใช้งานภาพวาดและข้อมูลทางเทคนิคที่บางครั้งในรายการส่วนคำแนะนำการประกอบและคู่มือการติดตั้ง It is vital to preserve these documentation pieces in a secure place accessible so that copies of all them are provided to the operators and maintenance personnel. มันมีความสำคัญเพื่อรักษาชิ้นเอกสารเหล่านี้ในที่ปลอดภัยเพื่อให้สามารถเข้าถึงสำเนาของพวกเขาทั้งหมดให้แก่ผู้ประกอบการและการบำรุงรักษาบุคลากร In some cases, it will be necessary to educate and train personnel for the appropriate interpretation of that information. ในบางกรณีก็จะมีความจำเป็นเพื่อให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการตีความตามความเหมาะสมของข้อมูลที่ According to the new disciplines, this kind of information should no longer be a secret, as it was in the past. ตามสาขาใหม่ข้อมูลประเภทนี้ไม่ควรเป็นความลับเพราะมันเป็นอะไรที่ผ่านมา เพื่อที่จะกำหนดสภาวะที่เหมาะสมและเพื่อสร้างขอบเขตที่กำหนดก็อาจจะจำเป็นในการใช้และข้อผิดพลาดในขั้นตอนการศึกษาวิจัยหรือเพื่อจำลองสภาพเพื่อแสดงข้อบกพร่องที่ซ่อนอยู่เห็นได้ชัดว่ามาตรการความปลอดภัยควรจะดำเนินการไปมากเมื่อทำเช่นนี้การวิเคราะห์สาเหตุมีการวิเคราะห์สาเหตุรากที่เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการกำจัดที่สมบรูณ์และเป็นระบบของเสียที่นำไปสู่การสูญเสียจากความล้มเหลวเรื้อรัง โดยวิธีการขั้นตอนนี้ทุกชิ้นส่วนที่นำไปสู่ความล้มเหลวและความสูญเสียเรื้อรังจะมีการระบุและตัดออกตามขั้นตอนง่ายๆ ที่ได้รับการอธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญในสื่อสิ่งพิมพ์ที่หลากหลายและบางโปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่นThe root cause analysis is a technique developed to promote the complete and systematic elimination of the defects that contribute to losses from chronic failures.              

 1. ชี้แจง   ปัญหาอย่างระมัดระวังศึกษาปัญหา   และสภาพของพวกเขาเปรียบเทียบลักษณะภายนอกและชิ้นส่วนได้รับผลกระทบกับบรรดาเครื่องอุปกรณ์ที่คล้ายกัน This way we make sure that the problem is the same one in all the cases (typical) or it is isolated.ทางเราตรวจสอบให้แน่ใจว่าปัญหาเป็นหนึ่งเดียวกันในทุกกรณี (ทั่วไป) หรือมันจะถูกแยกออก Ask the operators about what they have seen, listened, smelled or felt previous to the problem.ขอให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้เห็น, ได้ฟัง, กลิ่นหรือรู้สึกว่าก่อนหน้านี้การแก้ไขปัญหา That information can help avoid its recurrence.ข้อมูลที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดซ้ำของ Definitively, in these cases the benefit of the basic training of the operators in the knowledge of the equipment will be evident. แตกหักในกรณีเหล่านี้อุปกรณ์ได้รับประโยชน์ขั้นพื้นฐานของการฝึกอบรมของผู้ประกอบการในความรู้จะปรากฏชัด              

  2.การวิเคราะห์ ปัญหาทางกายภาพวิธีพิจารณาสภาพทางกายภาพเช่นการขาดความสะอาดสิ่งกีดขวางการปนเปื้อนสามารถก่อให้เกิดปัญหาการสังเกต ตรวจสอบทั้งหมดทำให้ขั้นพื้นฐานชัดเจนรวมทั้งการกระทำที่มีการบันทึกภาพในที่เกิดขึ้นก่อนหน้าของปัญหา การพัฒนาแผนภาพในบางกรณีสามารถเป็นจริงมากแจ้งให้เราทราบว่าเกือบตลอดเวลาทำให้สามารถก่อให้เกิดผลอื่น ขั้นตอนนี้กองกำลังเราเพื่อดำเนินการต่อลึกจนหาสาเหตุที่เป็นต้นฉบับจริงหรือรากสาเหตุ มันเป็นการลงทุนที่ดีของเวลา เราทุกคนเรียนรู้เพิ่มเติม เสมอเชิญผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบนี้

 3. สมัครสมาชิกแต่ละการกระทำที่เป็นไปได้หรือสภาพที่สามารถเกี่ยวข้องกับปัญหา  เงื่อนไขการพิจารณาสิ่งที่ควรจะนำเสนอปัญหาหรือความผิดปกติที่จะใช้สถานที่หรือในการทำซ้ำ บางทีมันอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนเฉพาะวันที่สาม นอกจากนี้ในบางโอกาสมันจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลาใดเวลาหนึ่งของปี ทำให้สามารถมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศลักษณะการดำเนินการอุณหภูมิหรือความชื้นและตัวแปรอื่น ๆ อีกมากมาย ดูแผนภาพสาเหตุ                 

4. ประเมินอุปกรณ์, วัสดุและกระบวนการ  พิจารณาเงื่อนไขที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 3, มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้วัสดุที่มีการทำงานและกระบวนการหรือวิธีการที่เกี่ยวข้อง รายชื่อของพวกเขาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัญหา              

 5.วางแผนการตรวจสอบ แผนปฏิบัติการอย่างระมัดระวังและตรวจสอบองค์ประกอบทั้ง ตัดสินใจว่าควรจะเป็นวัดวิธีการวัดและเลือกวิธีการใช้ประโยชน์ของการวัดได้               

6.ความล้มเหลวของการดำเนินการสืบหา   ทั้งหมดที่ได้วางแผนไว้ในขั้นตอนที่ 5ควรทำการศึกษาทั้งหมด ในใจมีเงื่อนไขที่ดีที่จะได้รับการยืนยันและข้อบกพร่องมีผลต่อแสงของ ตรวจสอบว่าพวกเขาจะรวมอยู่ในการตรวจสอบรายการประจำวัน              

7.กำหนดแผนการปรับปรุง   ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ในการปรับปรุงในแต่ละสถานการณ์   เหล่านี้รวมอยู่ในแผนการจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอที่ผู้ประกอบการและอาจจะมีช่างซ่อมบำรุง  ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหลายต่อระดับและเป็นหลายระดับตามความจำเป็นการกำจัดทีละคนจนมาถึงการที่ถูกต้องรากสาเหตุ It should be documented, because the possibility exists that it may happen in another similar piece of equipment. มันควรจะจัดทำเป็นเอกสารเพราะมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นในชิ้นส่วนของอุปกรณ์อื่นที่คล้ายกัน An inspection should be scheduled for those other machines or pieces of equipment. การตรวจสอบควรจะกำหนดไว้สำหรับเครื่องอื่น ๆ เหล่านั้นหรือชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดคือ  การติดตามและการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงให้กับผู้ใช้และการบำรุงรักษาควรได้รับเพื่อที่ทำให้ไม่เกิดการซ้ำ

โครงสร้างเรือและอุปกรณ์

1.1  ตัวเรือ

     แผ่นเหล็กตัวเรือทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ  บันไดและราวบันได  ท่าทางต่าง ๆ  และเครื่องป้องกันบนดาดฟ้ามักจะเกิดสนิมผุกร่อน  หรือบริเวณที่มีการปะผุซ่อมชั่วคราว  ทำให้มีผลต่อความแข็งแรงของตัวเรือในการรับน้ำหนัก  การทรงตัวของเรือ  ตลอดจนความปลอดภัยของคนประจำเรือการบำรุงรักษาตัวเรือให้อยู่ในสภาพดี ให้เรือมีการผุกร่อนน้อยและช้าที่สุด  เรือจะมีสภาพที่ปลอดภัยในการออกเดินทางไปในทะเล

        1.2  ห้องเครื่อง

        ต้องมีการบำรุงรักษาห้องเครื่องที่ดีได้แก่  สภาพวาล์วและกลไกในการปิด-เปิด ใช้การได้ดีตรวจสอบ การรั่วไหลของไอน้ำ  น้ำและน้ำมัน  ภายในห้องเครื่อง  รักษาพื้นห้องเครื่องและพื้นท้องเรือตลอดจนบิลจ์ให้สะอาดไม่เป็นที่สะสมของน้ำมัน  อันตรายของการผุกร่อนอย่างมากของแท่นเครื่องหรือสภาพของเข็มขัดยึดท่อที่หลวมหรือหลุดการตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรว่าดีหรือเสียมีข้อบกพร่องหรือความผิดปกติหรือไม่ เช่น ซีลของปั๊ม เกจวัดความดันหรืออุณหภูมิ วาวล์ระบายความดัน (Relief Valve) ระบบควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ (Control Device) และระบบป้องกัน (Safety Device) การลงบันทึกสมุดปุ่มห้องเครื่องเกี่ยวกับการเดินเครื่องตามปกติการทดสอบเครื่องจักรเสีย  การซ่อมทำหรืออุบัติเหตุอื่น ๆ  ให้เรียบร้อย  เครื่องจักรสำรองหรือเครื่องฉุกเฉินทำงานปกติ  มีการทดลองใช้งานและบำรุงรักษาสม่ำเสมอ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องถือท้ายสำรองและฉุกเฉิน

        1.3  แนวน้ำบรรทุก

        สิ่งที่จำเป็นต้องดูแลคือประตูหน้าต่างและช่องทางเปิด-ปิดต่าง ๆ  เช่น  ช่องระบายอากาศ  รูวัดระดับน้ำในระวาง (Sounding)  ฝาแมนโฮล  ฝาระวางสินค้า  เป็นต้น  ต้องสามารถผนึกน้ำได้  กล่าวคือเปิด-ปิดได้  มียางผนึกน้ำและตัวล๊อคที่ยังใช้การได้ดีไม่มีรูรั่วให้น้ำเข้า  ทั้งนี้เพื่อป้องกันน้ำเข้าเรือทั้งในระวางสินค้า  ที่พักอาศัยและห้องเครื่อง  ซึ่งจะเป็นอันตรายกับกำลังลอยการทรงตัวของเรือ 

1.4  อุปกรณ์ช่วยชีวิต

        อุปกรณ์ช่วยชีวิตต้องมีครบถ้วนตามที่ข้อบังคับกำหนดและบำรุงรักษาสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี  และคนประจำเรือจะต้องฝึกซ้อมวิธีการใช้ให้เป็นทุกคนโดยเฉพาะที่เพิ่งไปลงเรือ  ปัญหาที่พบบ่อย ๆ   เช่น มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตไม่ครบตามกำหนด  อุปกรณ์เสื่อมสภาพหรือขาดการบำรุงรักษา  ได้แก่  เสื้อชูชีพเก่ามาก  เปื่อยและฉีกขาด  เรือช่วยชีวิตทะลุเป็นรู  เชือกหรือลวดเก่าแตกหรือขาดอุปกรณ์ประจำเรือ  เรือบตไม่อยู่ประจำที่เพราะถูกนำไปใช้งานที่อื่น  มีสิ่งกีดขวางเช่นสินค้าบนดาดฟ้าขวางทางเข้าไปหยิบฉวยอุปกรณ์ช่วยชีวิต หรือ ดับไฟในยามฉุกเฉินหรือเรือช่วยชีวิตมีสิ่ง  กีดขวางการหย่อนลงน้ำหรือไม่วางให้เข้าที่ และผูกมัดให้เรียบร้อย มีการท่าสีทับจุดที่ต้องเคลื่อนที่ไม่มีการอัดหรือทาจาราบีที่รอก ลวก สลัก แกนหมุน อุปกรณ์ประจำเรือช่วยชีวิตหมดอายุเช่น อาหาร พลุสัญญาณหรือแพชูชีพหมดอายุไฟส่องสว่างบนดาดฟ้า  เรือบตใช้การไม่ได้

        1.5  ความปลอดภัยจากเพลิงไหม้

        อุปกรณ์ดับเพลิง  โดยทั่วไปสภาพท่อน้ำดับเพลิงวาวล์และหัวต่อ  บนดาดฟ้าและในเรือที่ขาดการบำรุงรักษาจะเป็นสนิมไม่อยู่ในสภาพใช้งาน  สายสูบหัวฉีดจะผุรั่ว  หรือหายจากตู้ดับเพลิงสภาพของถังดับเพลิงทั้งแบบประจำที่ และเคลื่อนที่ได้ไม่มีการตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาประจำ

        ความเสี่ยงต่อเพลิงไหม้ได้แก่ห้องเครื่องที่ไม่รักษาความสะอาด โดยเฉพาะน้ำมันรั่วหยด บิลจ์ที่สกปรกมีน้ำมันสะสม พื้นทางเดินที่มีแต่น้ำมัน ก้นบุหรี่ทิ้งในที่มีเชื้อเพลิง

        การรุกลามของไฟ ประตูกันไฟที่เปิดไว้จะต้องสามารถปิดได้ทันทีไม่มีสิ่งใดมากีดขวางหรือผูกรัดไว้ทำให้ไม่สามารถปิดได้ ช่องระบายอากาศและพัดลมระบายอากาศที่มีแผ่นเหล็กกั้นสำหรับปิด-เปิดต้องใช้การได้  พัดลมระบายอากาศต้องปิดทั้งระบบได้ทันทีจากจุดควบคุมปุ่มปิดเปิดฉุกเฉิน

        ช่องทางหนีไฟและประตูทางเข้าออกจะต้องไม่ปิดล๊อคจนไม่สามารถเปิดออกเพื่อให้ทุกคนสามารถหนีไฟได้ตามปกติหรือไม่มีสิ่งของไปกีดขวางทางหนีไฟ

        1.6  การป้องกันเรือโดนกัน

        โคมไฟเรือเดินจะต้องเปิดติดและไม่มีอะไรไปบังการมองเห็นของเรือลำอื่น สัญญาณเสียงเช่น หวูด ระฆัง ฆ้อง และสัญญาณอับจนต้องใช้การได้ เช่น สัญญาณมอร์ส ธงสัญญาณ สัญญาณควันสีส้ม สำหรับการเดินเรือและขอความช่วยเหลือ

        1.7  ความปลอดภัยของโครงสร้างเรือ

                นอกจากตัวเรือจะต้องแข็งแรงแล้ว  ยังมีระบบสูบน้ำท้องเรือ  ระบบเตือนภัย (Alarm) ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินระบบตัดการระบายอากาศ และระบบตัดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องจักรในห้องเครื่อง

        1.8  วิทยุสื่อสารสำหรับความปลอดภัย

                วิทยุสื่อสารที่ใบรับรองสภาพยังไม่หมดอายุและมีการบันทึกใช้และการบำรุงรักษาที่ดี มีนายวิทยุที่มีความรู้ความสามารถและปฏิบัติการรับส่งตลอดจนเฝ้าฟังสัญญาณขอความช่วยเหลือตามกำหนด

MFM engineering รับแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ของกว้าน ระบบไฮโดลิกส์ shaft blancing

กว้านบนเรือท่านมีปัญหาแบบนี้ไหม 
– การทำงานช้าลงไม่ทันใจ ไม่มีแรงและกำลังในการยกดึก
– ติดขัดเวลาเข้าเกียร์ขับกว้านโซ่ กว้านเชือก ต้องใช้แรงคนมากเวลาsliding 
– มีอาการสั่นสะเทือนเวลาขับกว้าน 
– shaft โก่ง ขดงอ 
– กว้านเก่าขาดการหล่อลื่น

MFMengineering

บริการด้านการซ่อมบำรุงเรือเดินสมุทร เพลาใบจักร เพลาหางเสือ shaft balancing ตรวจสอบ clearance บูชเพลา , เปลี่ยนบูชเพลา ,ดัดเพลา, เช็คศูนย์เพลา จัดหาอะไหล่บูช ต่างๆตามไซน์ของshaft

บริษัท Marine and factory machinery engineering .co.,ltd

บริการรับจัดหาอะไหล่เรือมือ 2 จากบังคลาเทศ ตามorder ลูกค้า พร้อมทีมงานติดตั้ง อุปกรณ์บนเรือครับ ไม่ว่าจะเป็น เพลาข้อเหวี่ยงเครื่องยนต์ ราวลิ้น วาล์ว อุปกรณ์งานระบบไฟฟ้า และอื่นๆในเรือเดินสมุทร เรามีทีมงานในต่างประเทศเพื่อหาของตามลูกค้าต้องการ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานกลึงและประเภทของดอกเจาะ

งานกลึง(Lathe) เป็นการขึ้นรูปชิ้นงานในลักษณะทรงกระบอก 
โดยชิ้นงานจะถูกจับยึดที่หัวจับของเครื่องกลึงแล้วหมุน หลังจากนั้นเครื่องมือตัด ก็จะเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงานเพื่อตัดเฉือนชิ้นงานให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่เราต้องการ

หลักการตัดของงานกลึง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ

1.เครื่องจักร (machine)

ในงานกลึงเครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปชิ้นงานคือ เครื่องกลึง มีทั้งเครื่องกลึงแบบที่ควบคุมที่มือป้อนสเกลแบบ manual และเครื่องกลึง cnc ซึ่งเป็นเครื่องกลึงแบบอัตโนมัติ

2.ชิ้นงาน (workpiece)

ชิ้นงานแทบจะทุกชนิดสามารถนำมาขึ้นรูปด้วยการกลึงได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องจักรด้วย เช่น ขนาดที่หัวจับของเครื่องกลึงสามารถจับยึดได้ซึ่งรวมถึงความยาวของแกนเครื่องกลึงด้วย และความแข็งของวัสดุแต่ละชนิดการตัดเฉือนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับเครื่องมือตัดเป็นหลัก ซึ่งเครื่องมือตัดนั้นต้องมีความแข็งมากกว่าชิ้นงานเท่านั้น

3.เครื่องมือตัด (cutting tool)

เครื่องมือตัดที่ใช้งานกลึงโดยส่วนมากจะเป็นมีดกลึง ซึ่งมีลักษณะรูปทรงที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน เช่น มีดกลึงปอก, มีดกลึงคว้าน, มีดกลึงเกลียว, มีดเซาะร่อง, มีดตัดเป็นต้น ซึ่งรายละเอียดในการเลือกใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไปลักษณะรูปร่างของชิ้นงานที่จะขึ้นรูปและคำแนะนำในการใช้งานของแต่ละผู้ผลิต

ส่วนเครื่องมือตัดอื่นๆที่ใช้ประกอบในงานกลึงเช่น ดอกสว่าน (drill) จริงๆ แล้ว ในงานเจาะบนเครื่องกลึงนั้นจะถือว่าเป็นงานเจาะก็ได้เพียงแต่ว่าทำการเจาะบนเครื่องกลึง ซึ่งจะเห็นว่าเครื่องกลึงนั้นไม่ได้ทำงานได้เพียงแค่การกลึงงานเท่านั้น

ส่วนประกอบอีกอย่างที่สำคัญคัญนอกเหนือจาก 3 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนนั้นก็คือ เงื่อนไขในการตัด เช่น ความเร็วรอบ, ความเร็วตัด, อัตราป้อน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตโดยตรง

ความเร็วรอบ (spindle speed) เป็นอัตราการหมุนของหัวจับชิ้นงานงาน นั่นก็หมายถึง ความเร็วในการหมุนของชิ้นงานขณะทำการตัดนั่นเอง

ความเร็วตัด (cutting speed) ความเร็วตัดมักจะถูกกำหนดโดย spec ของเครื่องมือตัดที่สามารถตัดเฉือนชิ้นงานและสามารถทนแรงเสียดสีและความร้อนที่เกิดขึ้นขณะตัดโดยที่คมตัดยังคงรักษารูปทรงไว้ได้ภายในอายุการใช้งาน (tool life) ที่กำหนดได้

อัตราป้อน (feed rate) เป็นอัตราในการเคลื่อนที่ของเครื่องมือตัดเพื่อตัดเฉือนชิ้นงาน

ทั้งความเร็วรอบ ความเร็วตัดและอัตราป้อนนั้นต้องมีความสัมพันธ์กันให้มากที่สุดและอยู่ภายใต้เงื่อนที่ที่ทำให้เกิดอัตราผลผลิตสูงสุด

แฮกเกอร์ ล้วงข้อมูลอุตสาหกรรมเดินเรืออย่างไร


การเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบริษัทเดินเรือ อาจเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ เข้าถึงข้อมูลที่อ่อนไหวได้หลากหลาย

ตอนที่พนักงานของบริษัท CyerKeel เข้าไปตรวจสอบอีเมลสื่อสารของบริษัทเดินเรือขนาดกลางแห่งหนึ่งก็ต้องพบกับความประหลาดใจ เพราะข้อมูลที่ได้นั้นไม่ธรรมดาเลย

นายลาร์ส เจนเซน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท CyberKeel เล่าว่าสิ่งที่พบจากการตรวจสอบข้อมูลการรับส่งอีเมล์ของบริษัทเดินเรือแห่งนี้ก็คือ “มีคนเจาะเข้าไปในระบบของบริษัท และฝังไวรัสขนาดเล็กเอาไว้ เพื่อล้วงข้อมูลที่ส่งเข้าและออกจากแผนกบัญชี”

ทุกครั้งที่บริษัทส่งน้ำมันส่งอีเมล์มาเรียกเก็บเงินจากบริษัทเดินเรือ ไวรัสจะเข้าไปเปลี่ยนตัวหนังสือในข้อความ ก่อนที่ทางบริษัทเดินเรือจะเปิดอีเมล์นั้น ๆ โดยจะใส่หมายเลขบัญชีใหม่เข้าไป ทำให้ “เงินหลายล้านดอลลาร์” ถูกโอนเข้าบัญชีของแฮกเกอร์

หลังเกิดการโจมตีทางไซเบอร์จากมัลแวร์ NotPetya เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทเดินเรือขนาดใหญ่หลายราย รวมถึง Maersk ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และทางบริษัทเพิ่งเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่าอาจทำให้ต้องขาดทุนกำไรถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1 หมื่นล้านบาท)

นายเจนเซน มองว่าอุตสาหกรรมผู้ให้บริการขนส่งทางเรือ จำเป็นต้องมีมาตรการที่ดีกว่านี้ในการปกป้องระบบของตนจากการถูกล้วงข้อมูล โดยเขาและนายมอร์เทน เชนค์ อดีตนายทหารในกองทัพเดนมาร์ก ซึ่งเขายกให้ว่า “เป็นคนที่แฮกได้แทบจะทุกอย่าง” ร่วมกันก่อตั้งบริษัทให้บริการตรวจสอบความปลอดภัยในด้านนี้ให้กับบริษัทเดินเรือ แต่วิธีการที่พวกเขาเสนอนั้นคือการทดสอบความปลอดภัยด้วยการเจาะเข้าไประบบ


Maersk บริษัทเดินเรือยักษ์ใหญ่ ตกเป็นหนึ่งในเป้าการโจมตีไซเบอร์ที่เรียกว่า Petya

ช่วงแรกบริษัทเดินเรือไม่เห็นความจำเป็นที่จะใช้บริการ แต่หลังจากเกิดเหตุมัลแวร์ NotPetya โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของ Maersk และการต้องปิดท่าเรือบางแห่งที่ บริหารงานโดย APM บริษัทลูก ทำให้อุตสาหกรรมเดินเรือหันมาตระหนักว่า การขนส่งทางเรือนั้นมีโอกาสที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้

การเจาะระบบคอมพิวเตอร์เปิดโอกาสให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลที่อ่อนไหวได้ โดยกรณีรุนแรงที่สุดที่เป็นข่าวสะเทือนวงการขนส่งสินค้าทางเรือ คือกรณีที่โจรสลัดแฮกคอมพิวเตอร์เพื่อดูว่า วันไหนจะมีการขนส่งสินค้าอะไรบนเส้นทางไหนบ้าง เพื่อวางแผนปล้นเรือลำนั้นๆ

รายงานจากทีมความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของบริษัท Verizon ระบุความแม่นยำของโจรสลัดที่อาศัยข้อมูลของแฮกเกอร์ว่า “พวกเขาจะขึ้นไปบนเรือ ใช้บาร์โค้ดตามหาตู้สินค้าที่มีของมีค่าบรรจุอยู่ แล้วก็ขโมยของในตู้สินค้านั้นเพียงตู้เดียวไม่ไปขโมยที่ตู้ไหนอีก”


ระบบควบคุมบนเรือ มักจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
ระบบควบคุมบนเรือ มักจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันเรือเดินทะเลใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานมากขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วย เนื่องจากมัลแวร์ที่รวมถึง NotPetya และชนิดอื่นๆ ถูกออกแบบมาให้แพร่กระจายระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันบนเรือก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

นายแพทริค รอสซี่ ที่ปรึกษาจากบริษัทอีเอ็นวี จีแอล ยกตัวอย่างกรณี “แผงควบคุมไฟฟ้าของเรือบรรทุกสินค้าไม่ทำงาน หลังจากระบบคอมพิวเตอร์ของเรือติดซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่” เขาอธิบายว่าแผงไฟฟ้าทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าไปยังเครื่องจักรต่าง ๆ ที่อยู่บนเรือ ตอนนั้นเรือลำดังกล่าวซึ่งเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแห่งหนึ่งในเอเชีย ใช้การไม่ได้ไปพักหนึ่ง

การจารกรรมระบบควบคุม

ระบบนำร่องที่สำคัญ เช่นจอแสดงแผนที่อิเล็กทรอนิคส์ หรือ Ecdis ก็เคยตกเป็นเป้าโจมตีมาแล้ว โดยนายเบรนแดน ซอนเดอร์ส หัวหน้าแผนกเทคนิคการเดินเรือ จากบริษัทให้บริการความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตเอ็นซีซี กรุ๊ป เล่าว่า มีเรือบรรทุกน้ำมันขนาด 80,000 ตัน ซึ่งจอดเทียบท่าอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่ง เกิดติดไวรัสเนื่องจากลูกเรือนำหน่วยเก็บความจำยูเอสบี มาใช้เซฟงานสำหรับสั่งพิมพ์ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของเรือติดไวรัสไปด้วย จากนั้นได้มีลูกเรือคนที่สอง นำยูเอสบีไดร์ฟติดไวรัสมาอัพเดทแผนที่ทางทะเล ทำให้ระบบนำร่องติดไวรัสคอมพิวเตอร์ถึงขนาดทำให้เรือต้องออกเดินทางล่าช้ากว่ากำหนด และต้องมีการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

มัลแวร์สามารถติดเข้าระบบนำร่องของเรือได้

เหตุการณ์ทำนองนี้ถือว่ามีส่วนทำให้ธุรกิจการเดินเรือต้องหยุดชะงัก ส่วนเหตุการณ์ที่อาจสร้างความเสียหายได้มากยิ่งขึ้น อย่างการที่แฮกเกอร์ใช้วิธีเจาะระบบควบคุมการเดินเรือเพื่อบังคับให้เรือแล่นชนกัน นั้น นายซอนเดอร์ส กล่าวว่า “เป็นไปได้” และ “เราเคยพิสูจน์แนวคิดนี้ให้เห็นแล้วว่าอาจเกิดขึ้นได้จริง”

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตรายหนึ่ง ที่ใช้นามสมมุติว่า x0rz ได้ทดลองใช้แอปพลิเคชัน Ship Tracker เพื่อค้นหาช่องว่างในระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมแบบเปิดของเรือ ที่เรียกว่า VSat โดยพบว่ามีเรือลำหนึ่งในน่านน้ำแถบอเมริกาใต้ ใช้ username ว่า “admin” และรหัสเข้าใช้ “1234” ซึ่งง่ายต่อการเข้าสู่ระบบมาก และ xOrz เชื่อว่า เขาสามารถเปลี่ยนข้อมูลของซอฟท์แวร์บนระบบ VSat ได้ด้วย

เรือเดินสมุทรเพื่อการพาณิชย์ ทำหน้าที่ขนส่งสินค้าร้อยละ 90 ของการค้าโลก

การโจมตีออนไลน์แบบเจาะจงยังสามารถเปลี่ยนพิกัดที่ระบบนำร่องแสดงได้ด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ไม่หวังดีสามารถแสดงตำแหน่งปลอมของเรือได้ แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเดินเรือ จะเคยชี้แจงมาก่อนแล้วว่า นักสังเกตการณ์ทางทะเลจะสามารถระบุตำแหน่งเรือที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงได้อย่างรวดเร็ว

ด้านผู้ผลิตระบบ VSat ได้ออกมากล่าวโทษลูกค้า ที่ไม่ปรับรหัสความปลอดภัยของตนเอง และตั้งแต่ตรวจพบความผิดพลาดก็สามารถกู้ระบบคืนได้แล้ว

ความปลอดภัยในการเดินทะเล

เป็นที่ชัดเจนว่าอุตสาหกรรมขนส่งทางทะเล ยังต้องปรับปรุงในอีกหลายแง่ ในเวลาเดียวกันก็มีความตระหนักมากขึ้น อย่างที่สภาพาณิชย์นาวีสากลและเขตบอลติก (Baltic and International Maritime Council (BIMCO) และองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) เพิ่งออกแนวทางปฏิบัติในการป้องกันไม่ให้บริษัทเรือเดินสมุทรถูกล้วงข้อมูล

ส่วนนายแพทริค รอสซี่ ชี้ว่าควรสร้างความตระหนักให้ลูกเรือรู้ว่ามัลแวร์สามารถติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร เพราะความเสี่ยงส่วนหนึ่ง เกิดจากการใช้หน่วยความจำพกพาแบบยูเอสบี หรือการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้เชื่อมต่อ

ปัจจุบันทั่วโลกมีเรือขนส่งเพื่อการพาณิชย์อยู่มากกว่า 51,000 ลำ คิดเป็นการขนส่งสินค้าประมาณร้อยละ 90 ของการค้าโลก

กรณีตัวอย่างของบริษัท Maersk ชี้ให้เห็นแล้วว่า มัลแวร์ที่ร้ายแรงสามารถทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักได้ สิ่งที่จะเป็นคำถามต่อจากกรณีนี้ และอีกหลายกรณีก็คือ จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในอนาคตได้อีกบ้าง?

เทคโนโลยีเรือเดินสมุทรสุดล้ำสมัย แต่ทำไมยังชนกันได้ ?

เหตุการณ์ที่เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน (USS John McCain) เกิดชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมันลำหนึ่งที่นอกชายฝั่งประเทศสิงคโปร์ จนทำให้ทหารเรือสูญหายถึง 10 รายนั้น กลายเป็นชนวนเหตุให้กองทัพเรือสหรัฐฯสั่งระงับปฏิบัติการของกองเรือทั่วโลก และสั่งปลดผู้บัญชาการกองเรือประจำภูมิภาคเอเชียคนสำคัญ เพราะอุบัติเหตุที่ไม่ธรรมดานี้เกิดขึ้นกับเรือรบสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 4 แล้วในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เรือดำน้ำลำหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯเกิดชนเข้ากับเรือสนับสนุนปฏิบัติการนอกชายฝั่ง และในเดือนพฤษภาคมของปีนี้ เรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธนำวิถีก็เกิดชนเข้ากับเรือประมงเกาหลีใต้ ตามมาด้วยเหตุเรือพิฆาตสองลำคือเรือยูเอสเอส ฟิตซ์เจอรัลด์ ชนเข้ากับเรือบรรทุกสินค้าของญี่ปุ่นที่น่านน้ำใกล้เมืองท่าโยโกสึกะเมื่อเดือนมิถุนายน และเหตุเรือยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน ชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมันขณะเตรียมเข้าเทียบท่าที่สิงคโปร์เมื่อวันจันทร์ (21 ส.ค.) ที่ผ่านมา

กองทัพสหรัฐฯ มีคำสั่งปลดพลเรือโทโจเซฟ ออคอยน์ ผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 ซึ่งควบคุมปฏิบัติการทางทะเลในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อเหตุที่เกิดขึ้น และในระหว่างนี้ก็ประกาศจะเร่งสืบสวนหาสาเหตุที่ทำให้เรือรบประสบอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้หลายครั้งอย่างเหลือเชื่อ


พลเรือโท โจเซฟ ออคอยน์ จะถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ

นายปีเตอร์ โรเบิร์ตส์ ผู้เชี่ยวชาญจากราชสถาบันรวมเหล่าทัพเพื่อการศึกษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (RUSI) ของสหราชอาณาจักรบอกว่า โดยปกติแล้วหากลูกเรือคอยมองเรดาร์และจอแสดงข้อมูลต่าง ๆ ให้ดี ก็นับว่าเพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงการชนประสานงาระหว่างเรือลำใหญ่ ๆ อย่างเรือรบและเรือเดินสมุทรต่าง ๆ ได้ แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาของเขาพบว่ามีเรือเดินสมุทรจำนวนไม่น้อยที่ห้องควบคุมหรือสะพานเดินเรือ (Navigation bridge) ไม่มีคนคอยเฝ้าอยู่เลย แม้ในขณะที่มีสัญญาณเตือนภัยบนจอเรดาร์ปรากฏขึ้นก็ตาม

นายโรเบิร์ตส์ยังบอกว่า โดยทั่วไปแล้วการชนกันระหว่างเรือเดินสมุทรนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพียงแต่ไม่ได้ปรากฏเป็นข่าวเท่านั้น เช่นเมื่อไม่กี่วันก่อนที่เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นที่สิงคโปร์ เรือบรรทุกสินค้าสองลำได้เกิดชนกันที่นอกชายฝั่งมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ของจีน ทำให้มีลูกเรือเสียชีวิตหลายคน แต่ที่น่าเศร้าก็คือเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ผู้คนก็มักจะเพ่งเล็งเอาโทษกับต้นหนและกัปตันเรือ โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าคนเหล่านี้ก็เป็นกำลังสำคัญในการนำพาเรือให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุมาแล้วหลายครั้งก่อนหน้านั้น

นายอารอน โซเรนเซน หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและกฎหมายทางทะเลของสภาการเดินเรือสินค้ากลุ่มประเทศบอลติกและนานาชาติ (BIMCO) บอกว่าการจดจ่อแต่ที่หน้าจออุปกรณ์ไฮเทค หรือหวังพึ่งพาให้เครื่องมือช่วยเตือนภัยมากเกินไปนั้น เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะการรอฟังสัญญาณเตือนอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่มีความแม่นยำเท่ากับตัวลูกเรือคอยเฝ้าดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงนอกหน้าต่างเป็นระยะ

นายเฮนริก อุทห์ ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมสำรวจข้อมูลการประกันภัยของเดนมาร์กระบุว่า แม้สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางทะเลนั้นมาจากความผิดพลาดของมนุษย์เป็นสำคัญ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าเหตุไม่พึงประสงค์นั้นเกิดขึ้นกับเรือเดินสมุทรเนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่นการสัญจรทางทะเลที่คับคั่งขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้โอกาสที่เรือเดินสมุทรจะเฉี่ยวชนกันมีสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยข้อมูลของรัฐบาลอังกฤษเมื่อช่วงสิ้นปีที่แล้วชี้ว่า ทั่วโลกมีเรือเดินสมุทรที่ใช้ในการพาณิชย์อยู่ทั้งสิ้น 58,000 ลำ


เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน ได้รับความเสียหายที่ด้านซ้ายหลังชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมัน

มีความพยายามจัดช่องทางจราจรในน่านน้ำทั่วโลกที่มีเรือเดินสมุทรผ่านไปมาคับคั่งกว่า 100 แห่ง เพื่อให้เรือแล่นไปในทิศทางที่แน่นอนในแบบเดียวกันเป็นขบวน โดยเริ่มมีการจัดช่องทางจราจรในทะเลแบบนี้มาตั้งแต่ปี 1967 ในช่องแคบโดเวอร์ของอังกฤษ แต่อุบัติเหตุก็ยังเกิดขึ้นได้

นายอุทห์ชี้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีผลต่อความปลอดภัยในการเดินเรือเช่นกัน โดยในปัจจุบันกิจการเดินเรือหลายแห่งมีแนวโน้มว่าจะมีผลกำไรลดลง ทำให้ต้องรัดเข็มขัดตัดลดงบประมาณในการดำเนินกิจการลงอย่างมากนับแต่เกิดวิกฤตการเงินเมื่อปี 2008 เป็นต้นมา ซึ่งสภาพการณ์นี้สวนทางกับค่าจ้างและค่าฝึกอบรมกัปตันและลูกเรือที่มีประสบการณ์ซึ่งอยู่ในอัตราสูง ทำให้บริษัทเดินเรือขาดการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการบังคับควบคุมเรือของลูกจ้างไป ทั้งที่การควบคุมเรือเดินสมุทรซึ่งมักเต็มไปด้วยลูกเรือจากหลายประเทศ พูดกันหลายภาษา และมีวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยแตกต่างกัน ก็ทำให้งานนี้เป็นเรื่องยากพอตัวอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าอุบัติเหตุทางทะเลเกิดขึ้นจากช่องโหว่ของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งหมายถึงการที่เรือถูกแฮกเกอร์เจาะล้วงระบบเพื่อเข้าบังคับควบคุมเรือจากภายนอก โดยการที่แฮกเกอร์บังคับให้เรือออกนอกเส้นทางอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวินาศภัยกับบรรดาเรือรบและเรือเดินสมุทรได้ แม้แต่ทางกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งสั่งลงโทษลูกเรือและผู้บังคับการเรือพิฆาต ยูเอสเอส ฟิตซ์เจอรัล ที่เกิดเหตุชนไปแล้วฐานประมาทเลินเล่อ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นไปได้ในการสืบสวนว่าระบบความปลอดภัยของเรืออาจถูกแทรกแซงจากภายนอกหรือไม่

นายโรเบิร์ตส์บอกว่า เรื่องนี้ใช่จะไม่มีความเป็นไปได้เสียทีเดียว โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าเรือเดินสมุทรบางลำเกิดความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์จีพีเอสโดยไม่ทราบสาเหตุ ระหว่างที่อยู่ในเขตน่านน้ำทะเลดำ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า กลุ่มเคลื่อนไหวทางไซเบอร์ของรัฐบาลบางประเทศอาจต้องการเข้าควบคุมเรือเพื่อบังคับให้เปลี่ยนเส้นทางก็เป็นได้ “ในขณะนี้เราควรเปิดกว้าง โดยพิจารณาถึงปัจจัยที่มีความเป็นไปได้ทุกทาง แม้แต่การก่อการร้ายทางไซเบอร์ก็ตาม” นายโรเบิร์ตส์กล่าว