โครงสร้างเรือและอุปกรณ์

1.1  ตัวเรือ

     แผ่นเหล็กตัวเรือทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ  บันไดและราวบันได  ท่าทางต่าง ๆ  และเครื่องป้องกันบนดาดฟ้ามักจะเกิดสนิมผุกร่อน  หรือบริเวณที่มีการปะผุซ่อมชั่วคราว  ทำให้มีผลต่อความแข็งแรงของตัวเรือในการรับน้ำหนัก  การทรงตัวของเรือ  ตลอดจนความปลอดภัยของคนประจำเรือการบำรุงรักษาตัวเรือให้อยู่ในสภาพดี ให้เรือมีการผุกร่อนน้อยและช้าที่สุด  เรือจะมีสภาพที่ปลอดภัยในการออกเดินทางไปในทะเล

        1.2  ห้องเครื่อง

        ต้องมีการบำรุงรักษาห้องเครื่องที่ดีได้แก่  สภาพวาล์วและกลไกในการปิด-เปิด ใช้การได้ดีตรวจสอบ การรั่วไหลของไอน้ำ  น้ำและน้ำมัน  ภายในห้องเครื่อง  รักษาพื้นห้องเครื่องและพื้นท้องเรือตลอดจนบิลจ์ให้สะอาดไม่เป็นที่สะสมของน้ำมัน  อันตรายของการผุกร่อนอย่างมากของแท่นเครื่องหรือสภาพของเข็มขัดยึดท่อที่หลวมหรือหลุดการตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรว่าดีหรือเสียมีข้อบกพร่องหรือความผิดปกติหรือไม่ เช่น ซีลของปั๊ม เกจวัดความดันหรืออุณหภูมิ วาวล์ระบายความดัน (Relief Valve) ระบบควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ (Control Device) และระบบป้องกัน (Safety Device) การลงบันทึกสมุดปุ่มห้องเครื่องเกี่ยวกับการเดินเครื่องตามปกติการทดสอบเครื่องจักรเสีย  การซ่อมทำหรืออุบัติเหตุอื่น ๆ  ให้เรียบร้อย  เครื่องจักรสำรองหรือเครื่องฉุกเฉินทำงานปกติ  มีการทดลองใช้งานและบำรุงรักษาสม่ำเสมอ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องถือท้ายสำรองและฉุกเฉิน

        1.3  แนวน้ำบรรทุก

        สิ่งที่จำเป็นต้องดูแลคือประตูหน้าต่างและช่องทางเปิด-ปิดต่าง ๆ  เช่น  ช่องระบายอากาศ  รูวัดระดับน้ำในระวาง (Sounding)  ฝาแมนโฮล  ฝาระวางสินค้า  เป็นต้น  ต้องสามารถผนึกน้ำได้  กล่าวคือเปิด-ปิดได้  มียางผนึกน้ำและตัวล๊อคที่ยังใช้การได้ดีไม่มีรูรั่วให้น้ำเข้า  ทั้งนี้เพื่อป้องกันน้ำเข้าเรือทั้งในระวางสินค้า  ที่พักอาศัยและห้องเครื่อง  ซึ่งจะเป็นอันตรายกับกำลังลอยการทรงตัวของเรือ 

1.4  อุปกรณ์ช่วยชีวิต

        อุปกรณ์ช่วยชีวิตต้องมีครบถ้วนตามที่ข้อบังคับกำหนดและบำรุงรักษาสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี  และคนประจำเรือจะต้องฝึกซ้อมวิธีการใช้ให้เป็นทุกคนโดยเฉพาะที่เพิ่งไปลงเรือ  ปัญหาที่พบบ่อย ๆ   เช่น มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตไม่ครบตามกำหนด  อุปกรณ์เสื่อมสภาพหรือขาดการบำรุงรักษา  ได้แก่  เสื้อชูชีพเก่ามาก  เปื่อยและฉีกขาด  เรือช่วยชีวิตทะลุเป็นรู  เชือกหรือลวดเก่าแตกหรือขาดอุปกรณ์ประจำเรือ  เรือบตไม่อยู่ประจำที่เพราะถูกนำไปใช้งานที่อื่น  มีสิ่งกีดขวางเช่นสินค้าบนดาดฟ้าขวางทางเข้าไปหยิบฉวยอุปกรณ์ช่วยชีวิต หรือ ดับไฟในยามฉุกเฉินหรือเรือช่วยชีวิตมีสิ่ง  กีดขวางการหย่อนลงน้ำหรือไม่วางให้เข้าที่ และผูกมัดให้เรียบร้อย มีการท่าสีทับจุดที่ต้องเคลื่อนที่ไม่มีการอัดหรือทาจาราบีที่รอก ลวก สลัก แกนหมุน อุปกรณ์ประจำเรือช่วยชีวิตหมดอายุเช่น อาหาร พลุสัญญาณหรือแพชูชีพหมดอายุไฟส่องสว่างบนดาดฟ้า  เรือบตใช้การไม่ได้

        1.5  ความปลอดภัยจากเพลิงไหม้

        อุปกรณ์ดับเพลิง  โดยทั่วไปสภาพท่อน้ำดับเพลิงวาวล์และหัวต่อ  บนดาดฟ้าและในเรือที่ขาดการบำรุงรักษาจะเป็นสนิมไม่อยู่ในสภาพใช้งาน  สายสูบหัวฉีดจะผุรั่ว  หรือหายจากตู้ดับเพลิงสภาพของถังดับเพลิงทั้งแบบประจำที่ และเคลื่อนที่ได้ไม่มีการตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาประจำ

        ความเสี่ยงต่อเพลิงไหม้ได้แก่ห้องเครื่องที่ไม่รักษาความสะอาด โดยเฉพาะน้ำมันรั่วหยด บิลจ์ที่สกปรกมีน้ำมันสะสม พื้นทางเดินที่มีแต่น้ำมัน ก้นบุหรี่ทิ้งในที่มีเชื้อเพลิง

        การรุกลามของไฟ ประตูกันไฟที่เปิดไว้จะต้องสามารถปิดได้ทันทีไม่มีสิ่งใดมากีดขวางหรือผูกรัดไว้ทำให้ไม่สามารถปิดได้ ช่องระบายอากาศและพัดลมระบายอากาศที่มีแผ่นเหล็กกั้นสำหรับปิด-เปิดต้องใช้การได้  พัดลมระบายอากาศต้องปิดทั้งระบบได้ทันทีจากจุดควบคุมปุ่มปิดเปิดฉุกเฉิน

        ช่องทางหนีไฟและประตูทางเข้าออกจะต้องไม่ปิดล๊อคจนไม่สามารถเปิดออกเพื่อให้ทุกคนสามารถหนีไฟได้ตามปกติหรือไม่มีสิ่งของไปกีดขวางทางหนีไฟ

        1.6  การป้องกันเรือโดนกัน

        โคมไฟเรือเดินจะต้องเปิดติดและไม่มีอะไรไปบังการมองเห็นของเรือลำอื่น สัญญาณเสียงเช่น หวูด ระฆัง ฆ้อง และสัญญาณอับจนต้องใช้การได้ เช่น สัญญาณมอร์ส ธงสัญญาณ สัญญาณควันสีส้ม สำหรับการเดินเรือและขอความช่วยเหลือ

        1.7  ความปลอดภัยของโครงสร้างเรือ

                นอกจากตัวเรือจะต้องแข็งแรงแล้ว  ยังมีระบบสูบน้ำท้องเรือ  ระบบเตือนภัย (Alarm) ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินระบบตัดการระบายอากาศ และระบบตัดน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องจักรในห้องเครื่อง

        1.8  วิทยุสื่อสารสำหรับความปลอดภัย

                วิทยุสื่อสารที่ใบรับรองสภาพยังไม่หมดอายุและมีการบันทึกใช้และการบำรุงรักษาที่ดี มีนายวิทยุที่มีความรู้ความสามารถและปฏิบัติการรับส่งตลอดจนเฝ้าฟังสัญญาณขอความช่วยเหลือตามกำหนด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานกลึงและประเภทของดอกเจาะ

งานกลึง(Lathe) เป็นการขึ้นรูปชิ้นงานในลักษณะทรงกระบอก 
โดยชิ้นงานจะถูกจับยึดที่หัวจับของเครื่องกลึงแล้วหมุน หลังจากนั้นเครื่องมือตัด ก็จะเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงานเพื่อตัดเฉือนชิ้นงานให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่เราต้องการ

หลักการตัดของงานกลึง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ

1.เครื่องจักร (machine)

ในงานกลึงเครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปชิ้นงานคือ เครื่องกลึง มีทั้งเครื่องกลึงแบบที่ควบคุมที่มือป้อนสเกลแบบ manual และเครื่องกลึง cnc ซึ่งเป็นเครื่องกลึงแบบอัตโนมัติ

2.ชิ้นงาน (workpiece)

ชิ้นงานแทบจะทุกชนิดสามารถนำมาขึ้นรูปด้วยการกลึงได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องจักรด้วย เช่น ขนาดที่หัวจับของเครื่องกลึงสามารถจับยึดได้ซึ่งรวมถึงความยาวของแกนเครื่องกลึงด้วย และความแข็งของวัสดุแต่ละชนิดการตัดเฉือนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับเครื่องมือตัดเป็นหลัก ซึ่งเครื่องมือตัดนั้นต้องมีความแข็งมากกว่าชิ้นงานเท่านั้น

3.เครื่องมือตัด (cutting tool)

เครื่องมือตัดที่ใช้งานกลึงโดยส่วนมากจะเป็นมีดกลึง ซึ่งมีลักษณะรูปทรงที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน เช่น มีดกลึงปอก, มีดกลึงคว้าน, มีดกลึงเกลียว, มีดเซาะร่อง, มีดตัดเป็นต้น ซึ่งรายละเอียดในการเลือกใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไปลักษณะรูปร่างของชิ้นงานที่จะขึ้นรูปและคำแนะนำในการใช้งานของแต่ละผู้ผลิต

ส่วนเครื่องมือตัดอื่นๆที่ใช้ประกอบในงานกลึงเช่น ดอกสว่าน (drill) จริงๆ แล้ว ในงานเจาะบนเครื่องกลึงนั้นจะถือว่าเป็นงานเจาะก็ได้เพียงแต่ว่าทำการเจาะบนเครื่องกลึง ซึ่งจะเห็นว่าเครื่องกลึงนั้นไม่ได้ทำงานได้เพียงแค่การกลึงงานเท่านั้น

ส่วนประกอบอีกอย่างที่สำคัญคัญนอกเหนือจาก 3 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนนั้นก็คือ เงื่อนไขในการตัด เช่น ความเร็วรอบ, ความเร็วตัด, อัตราป้อน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพในการผลิตโดยตรง

ความเร็วรอบ (spindle speed) เป็นอัตราการหมุนของหัวจับชิ้นงานงาน นั่นก็หมายถึง ความเร็วในการหมุนของชิ้นงานขณะทำการตัดนั่นเอง

ความเร็วตัด (cutting speed) ความเร็วตัดมักจะถูกกำหนดโดย spec ของเครื่องมือตัดที่สามารถตัดเฉือนชิ้นงานและสามารถทนแรงเสียดสีและความร้อนที่เกิดขึ้นขณะตัดโดยที่คมตัดยังคงรักษารูปทรงไว้ได้ภายในอายุการใช้งาน (tool life) ที่กำหนดได้

อัตราป้อน (feed rate) เป็นอัตราในการเคลื่อนที่ของเครื่องมือตัดเพื่อตัดเฉือนชิ้นงาน

ทั้งความเร็วรอบ ความเร็วตัดและอัตราป้อนนั้นต้องมีความสัมพันธ์กันให้มากที่สุดและอยู่ภายใต้เงื่อนที่ที่ทำให้เกิดอัตราผลผลิตสูงสุด

เทคโนโลยีเรือเดินสมุทรสุดล้ำสมัย แต่ทำไมยังชนกันได้ ?

เหตุการณ์ที่เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน (USS John McCain) เกิดชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมันลำหนึ่งที่นอกชายฝั่งประเทศสิงคโปร์ จนทำให้ทหารเรือสูญหายถึง 10 รายนั้น กลายเป็นชนวนเหตุให้กองทัพเรือสหรัฐฯสั่งระงับปฏิบัติการของกองเรือทั่วโลก และสั่งปลดผู้บัญชาการกองเรือประจำภูมิภาคเอเชียคนสำคัญ เพราะอุบัติเหตุที่ไม่ธรรมดานี้เกิดขึ้นกับเรือรบสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 4 แล้วในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา

เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เรือดำน้ำลำหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯเกิดชนเข้ากับเรือสนับสนุนปฏิบัติการนอกชายฝั่ง และในเดือนพฤษภาคมของปีนี้ เรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธนำวิถีก็เกิดชนเข้ากับเรือประมงเกาหลีใต้ ตามมาด้วยเหตุเรือพิฆาตสองลำคือเรือยูเอสเอส ฟิตซ์เจอรัลด์ ชนเข้ากับเรือบรรทุกสินค้าของญี่ปุ่นที่น่านน้ำใกล้เมืองท่าโยโกสึกะเมื่อเดือนมิถุนายน และเหตุเรือยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน ชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมันขณะเตรียมเข้าเทียบท่าที่สิงคโปร์เมื่อวันจันทร์ (21 ส.ค.) ที่ผ่านมา

กองทัพสหรัฐฯ มีคำสั่งปลดพลเรือโทโจเซฟ ออคอยน์ ผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 ซึ่งควบคุมปฏิบัติการทางทะเลในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อเหตุที่เกิดขึ้น และในระหว่างนี้ก็ประกาศจะเร่งสืบสวนหาสาเหตุที่ทำให้เรือรบประสบอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้หลายครั้งอย่างเหลือเชื่อ


พลเรือโท โจเซฟ ออคอยน์ จะถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ

นายปีเตอร์ โรเบิร์ตส์ ผู้เชี่ยวชาญจากราชสถาบันรวมเหล่าทัพเพื่อการศึกษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (RUSI) ของสหราชอาณาจักรบอกว่า โดยปกติแล้วหากลูกเรือคอยมองเรดาร์และจอแสดงข้อมูลต่าง ๆ ให้ดี ก็นับว่าเพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงการชนประสานงาระหว่างเรือลำใหญ่ ๆ อย่างเรือรบและเรือเดินสมุทรต่าง ๆ ได้ แต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาของเขาพบว่ามีเรือเดินสมุทรจำนวนไม่น้อยที่ห้องควบคุมหรือสะพานเดินเรือ (Navigation bridge) ไม่มีคนคอยเฝ้าอยู่เลย แม้ในขณะที่มีสัญญาณเตือนภัยบนจอเรดาร์ปรากฏขึ้นก็ตาม

นายโรเบิร์ตส์ยังบอกว่า โดยทั่วไปแล้วการชนกันระหว่างเรือเดินสมุทรนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพียงแต่ไม่ได้ปรากฏเป็นข่าวเท่านั้น เช่นเมื่อไม่กี่วันก่อนที่เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นที่สิงคโปร์ เรือบรรทุกสินค้าสองลำได้เกิดชนกันที่นอกชายฝั่งมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ของจีน ทำให้มีลูกเรือเสียชีวิตหลายคน แต่ที่น่าเศร้าก็คือเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ผู้คนก็มักจะเพ่งเล็งเอาโทษกับต้นหนและกัปตันเรือ โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าคนเหล่านี้ก็เป็นกำลังสำคัญในการนำพาเรือให้รอดพ้นจากอุบัติเหตุมาแล้วหลายครั้งก่อนหน้านั้น

นายอารอน โซเรนเซน หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและกฎหมายทางทะเลของสภาการเดินเรือสินค้ากลุ่มประเทศบอลติกและนานาชาติ (BIMCO) บอกว่าการจดจ่อแต่ที่หน้าจออุปกรณ์ไฮเทค หรือหวังพึ่งพาให้เครื่องมือช่วยเตือนภัยมากเกินไปนั้น เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะการรอฟังสัญญาณเตือนอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่มีความแม่นยำเท่ากับตัวลูกเรือคอยเฝ้าดูสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงนอกหน้าต่างเป็นระยะ

นายเฮนริก อุทห์ ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมสำรวจข้อมูลการประกันภัยของเดนมาร์กระบุว่า แม้สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางทะเลนั้นมาจากความผิดพลาดของมนุษย์เป็นสำคัญ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าเหตุไม่พึงประสงค์นั้นเกิดขึ้นกับเรือเดินสมุทรเนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่นการสัญจรทางทะเลที่คับคั่งขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้โอกาสที่เรือเดินสมุทรจะเฉี่ยวชนกันมีสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยข้อมูลของรัฐบาลอังกฤษเมื่อช่วงสิ้นปีที่แล้วชี้ว่า ทั่วโลกมีเรือเดินสมุทรที่ใช้ในการพาณิชย์อยู่ทั้งสิ้น 58,000 ลำ


เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน ได้รับความเสียหายที่ด้านซ้ายหลังชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมัน

มีความพยายามจัดช่องทางจราจรในน่านน้ำทั่วโลกที่มีเรือเดินสมุทรผ่านไปมาคับคั่งกว่า 100 แห่ง เพื่อให้เรือแล่นไปในทิศทางที่แน่นอนในแบบเดียวกันเป็นขบวน โดยเริ่มมีการจัดช่องทางจราจรในทะเลแบบนี้มาตั้งแต่ปี 1967 ในช่องแคบโดเวอร์ของอังกฤษ แต่อุบัติเหตุก็ยังเกิดขึ้นได้

นายอุทห์ชี้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีผลต่อความปลอดภัยในการเดินเรือเช่นกัน โดยในปัจจุบันกิจการเดินเรือหลายแห่งมีแนวโน้มว่าจะมีผลกำไรลดลง ทำให้ต้องรัดเข็มขัดตัดลดงบประมาณในการดำเนินกิจการลงอย่างมากนับแต่เกิดวิกฤตการเงินเมื่อปี 2008 เป็นต้นมา ซึ่งสภาพการณ์นี้สวนทางกับค่าจ้างและค่าฝึกอบรมกัปตันและลูกเรือที่มีประสบการณ์ซึ่งอยู่ในอัตราสูง ทำให้บริษัทเดินเรือขาดการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการบังคับควบคุมเรือของลูกจ้างไป ทั้งที่การควบคุมเรือเดินสมุทรซึ่งมักเต็มไปด้วยลูกเรือจากหลายประเทศ พูดกันหลายภาษา และมีวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยแตกต่างกัน ก็ทำให้งานนี้เป็นเรื่องยากพอตัวอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าอุบัติเหตุทางทะเลเกิดขึ้นจากช่องโหว่ของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งหมายถึงการที่เรือถูกแฮกเกอร์เจาะล้วงระบบเพื่อเข้าบังคับควบคุมเรือจากภายนอก โดยการที่แฮกเกอร์บังคับให้เรือออกนอกเส้นทางอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวินาศภัยกับบรรดาเรือรบและเรือเดินสมุทรได้ แม้แต่ทางกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งสั่งลงโทษลูกเรือและผู้บังคับการเรือพิฆาต ยูเอสเอส ฟิตซ์เจอรัล ที่เกิดเหตุชนไปแล้วฐานประมาทเลินเล่อ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นไปได้ในการสืบสวนว่าระบบความปลอดภัยของเรืออาจถูกแทรกแซงจากภายนอกหรือไม่

นายโรเบิร์ตส์บอกว่า เรื่องนี้ใช่จะไม่มีความเป็นไปได้เสียทีเดียว โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าเรือเดินสมุทรบางลำเกิดความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์จีพีเอสโดยไม่ทราบสาเหตุ ระหว่างที่อยู่ในเขตน่านน้ำทะเลดำ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า กลุ่มเคลื่อนไหวทางไซเบอร์ของรัฐบาลบางประเทศอาจต้องการเข้าควบคุมเรือเพื่อบังคับให้เปลี่ยนเส้นทางก็เป็นได้ “ในขณะนี้เราควรเปิดกว้าง โดยพิจารณาถึงปัจจัยที่มีความเป็นไปได้ทุกทาง แม้แต่การก่อการร้ายทางไซเบอร์ก็ตาม” นายโรเบิร์ตส์กล่าว

Cooling of ships engine

Cooling of ships engine – how it works , requirement of fresh water & sea water cooling system 

Cooling of engines is achieved by circulating a cooling liquid around internal passages within the engine. The cooling liquid is thus heated up and is in turn cooled by a sea water circulated cooler. Without adequate cooling certain parts of the engine which are exposed to very high temperatures, as a result of burning fuel, would soon fail.

Cooling enables the engine metals to retain their mechanical properties. The usual coolant used is fresh water: sea water is not used directly as a coolant because of its corrosive action. Lubricating oil is sometimes used for piston cooling since leaks into the crankcase would not cause problems. As a result of its lower specific heat however about twice the quantity of oil compared to water would be required.

Water carried in pipes is used to cool machinery. The main engine is cooled by two separate but linked systems: an open system (sea-to-sea) in which water is taken from and returned to the sea (seawater cooling), and a closed system where freshwater is circulated around an engine casing (freshwater cooling).

Freshwater is used to cool machinery directly, whereas seawater is used to cool freshwater passing through a heat exchanger. The particular feature of an engine cooling system is continuous fluid flow. Fluid in motion causes abrasive corrosion and erosion. To reduce the effects of turbulent flows, seawater systems incorporate large diameter mild steel pipes, the ends of which open to the sea through sea chests where gate valves are fitted.

If a seawater cooling pipe bursts, both suction and discharge valves will have to be closed to prevent engine room flooding. In order to make sure the valves operate correctly when you need them to, open and close them at regular, say monthly, intervals. Seawater pipes are usually mild steel, but galvanised steel, copper or copper alloy are also used. Freshwater cooling pipes are generally made of mild steel.

Fresh water cooling system

A water cooling system for a slow-speed diesel engine is shown in Figure . It is divided into two separate systems: one for cooling the cylinder jackets, cylinder heads and turbo-blowers; the other for piston cooling.

The cylinder jacket cooling water after leaving the engine passes to a sea-water-circulated cooler and then into the jacket-water circulating pumps. It is then pumped around the cylinder jackets, cylinder heads and turbo-blowers. A header tank allows for expansion and water make-up in the system. Vents are led from the engine to the header tank for the release of air from the cooling water. A heater in the circuit facilitates warming of the engine prior to starting by circulating hot water.

The piston cooling system employs similar components, except that a drain tank is used instead of a header tank and the vents are then led to high points in the machinery space. A separate piston cooling system is used to limit any contamination from piston cooling glands to the piston cooling system only.

Sea water cooling system

The various cooling liquids which circulate the engine are themselves cooled by sea water. The usual arrangement uses individual coolers for lubricating oil, jacket water, and the piston cooling system, each cooler being circulated by sea water. Some modern ships use what is known as a ‘central cooling system’ with only one large sea-water-circulated cooler. This cools a supply of fresh water, which then circulates to the other Individual coolers. With less equipment in contact with sea water the corrosion problems are much reduced in this system.

A water cooling system for a slow-speed diesel engine is shown in Figure . It is divided into two separate systems: one for cooling the cylinder jackets, cylinder heads and turbo-blowers; the other for piston cooling.

The cylinder jacket cooling water after leaving the engine passes to a sea-water-circulated cooler and then into the jacket-water circulating pumps. It is then pumped around the cylinder jackets, cylinder heads and turbo-blowers. A header tank allows for expansion and water make-up in the system. Vents are led from the engine to the header tank for the release of air from the cooling water. A heater in the circuit facilitates warming of the engine prior to starting by circulating hot water.

The piston cooling system employs similar components, except that a drain tank is used instead of a header tank and the vents are then led to high points in the machinery space. A separate piston cooling system is used to limit any contamination from piston cooling glands to the piston cooling system only.

Sea water cooling system

The various cooling liquids which circulate the engine are themselves cooled by sea water. The usual arrangement uses individual coolers for lubricating oil, jacket water, and the piston cooling system, each cooler being circulated by sea water. Some modern ships use what is known as a ‘central cooling system’ with only one large sea-water-circulated cooler. This cools a supply of fresh water, which then circulates to the other Individual coolers. With less equipment in contact with sea water the corrosion problems are much reduced in this system.

A sea water cooling system is shown in Figure . From the sea suction one of a pair of sea-water circulating pumps provides sea water which circulates the lubricating oil cooler, the jacket water cooler and the piston water cooler before discharging overboard. Another branch of the sea water main provides sea water to directly cool the charge air (for a direct-drive two-stroke diesel).

The upper sea suction valve is used while in port to prevent any mud or sand entering the cooling system. Its also used while sailing in shallow waters. The lower sea suction valve is used when sailing in deep water to avoid air entering the cooling system while the ship is rolling or pitching. 

Central cooling system

In a central cooling system the sea water circuit is made up of high and low suctions, usually on either side of the machinery space, suction strainers and several sea water pumps. The sea water is circulated through the central coolers and then discharged overboard. 

A low-temperature and high-temperature circuit exist in the fresh water system. The fresh water in the high-temperature circuit circulates the main engine and may, if required, be used as a heating medium for an evaporator. The low-temperature circuit circulates the main engine air coolers, the lubricating oil coolers and all other heat exchangers. A regulating valve controls the mixing of water between the high-temperature and low-temperature circuits. A temperature sensor provides a signal 

The advantages of a central cooling system are;

  1. Less maintenance, due to fresh water system having cleaned treated water
  2. fewer salt water pumps with attendant corrosion and fowling problems
  3. simplified and easier cleaning of coolers higher water speeds possible with a fresh water system,
  4. resulting in reduced pipe dimensions and installation costs
  5. the number of valves made of expensive material is greatly reduced, also cheaper materials can be used throughout the system
  6. constant level of temperature is maintained, irrelevant of seawater temperature, also no cold startings, reduced cylinder liner wear, etc.

อุตสาหกรรมยานยนต์ 4.0 … ความท้าทายที่ต้องเผชิญ

ภาคการผลิตทั่วโลกกำลังเคลื่อนเข้าสู่มิติใหม่ โดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการดำเนินงานบนพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการผลิตให้มีมูลค่าเพิ่ม รองรับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกได้อย่างเท่าทัน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตที่มีการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ

อีไอซี หรือ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ระบุว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี พ.ศ. 2560 จะมียอดผลิตโดยรวมของการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและการส่งออกเติบโตจากปีก่อน (พ.ศ. 2559) ประมาณ 3% หรือคิดเป็นปริมาณการผลิตสูงกว่า 2 ล้านคันเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของยอดขายรถยนต์ในประเทศเป็นหลัก ขณะเดียวกันยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของปีนี้ ก็คาดว่าจะมีการฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 800,000 คัน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะภัยแล้งที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 ถึงต้นปี พ.ศ. 2560 เริ่มกลับมา อย่างไรก็ดี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อตลาดรถยนต์ ซึ่งยังมีโอกาส ขยายตัวได้ถึงระดับล้านคันในอนาคต ด้านการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตที่ระดับ 2% ในปี พ.ศ. 2560 โดยปริมาณการส่งออกโดยรวมจะยังคงอยู่ที่ระดับ 1.2 ล้านคัน

ความท้าทายของผู้ประกอบการยานยนต์ไทย

ขณะเดียวกัน การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ก็มีอัตราเติบโตทรงตัวต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2560 โดยการส่งออกไปยัง ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการส่งออกไปยังอเมริกาเหนือ ยุโรป รวมถึงเวียดนามเข้ามาชดเชยได้บ้าง ประกอบกับในปีนี้ผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆ ยังไม่มีแผนเปิดตัวรถรุ่นใหม่ จึงทำให้ยังไม่มีปัจจัยที่จะกระตุ้นการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ อย่างไรก็ดี สินค้าในกลุ่มนี้ที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด คือ ยางล้อ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตประมาณ 3% จากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจีนย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ประกอบกับผู้ผลิตยางล้อจีนก็ยังเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง


ทั้งนี้  การยกระดับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-curve) ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงควรเริ่มลงทุนเพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในยุค 4.0 และเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคที่เริ่มเปลี่ยนไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยเองภายใต้บริบทใหม่ (New Normal) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทั้งในด้านจำนวนแรงงานที่ลดลงจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังเพิ่มขึ้นเร็วกว่าประสิทธิภาพแรงงาน ซึ่งบริบทดังกล่าวไม่ใช่อนาคตข้างหน้าที่ไกลตัว หากแต่ค่อยๆ ปรากฏชัดมากขึ้นทุกขณะ….